ข้ามไปยังเนื้อหา

วีดีโอ

สารคดี​เหล่า​นี้​จัด​ทำ​ขึ้น​สำหรับ​บุคลากร​ทาง​การ​แพทย์ นัก​สังคม​สงเคราะห์ และ​ผู้​ที่​เกี่ยว​ข้อง​กับ​กฎหมาย นอก​จาก​นั้น ผู้​เชี่ยวชาญ​ที่​อยู่​ใน​วีดีโอ​เหล่า​นี้​เป็น​ที่​รู้​จัก​ทั่ว​โลก พวก​เขา​เป็น​แพทย์ นัก​จริยธรรม นัก​กฎหมาย และ​นัก​วิชาการ​ที่​ไม่​ได้​เป็น​พยาน​พระ​ยะโฮวา

 

เทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้แทนการถ่ายเลือด—ง่าย ปลอดภัย ได้ผลดี

ทำไมมีแพทย์จำนวนมากขึ้นที่สนใจการรักษาโดยไม่ใช้เลือด?

การรักษาที่ใช้แทนการถ่ายเลือด—การสนองความต้องการและสิทธิของผู้ป่วย

วีดีโอนี้พูดถึงความเกี่ยวข้องกันของการแพทย์ จริยธรรม เศรษฐศาสตร์ และกฎหมายกับการใช้เทคนิควิธีการรักษาที่ใช้แทนการถ่ายเลือด มีการอธิบายว่าเทคนิคการรักษาและการผ่าตัดโดยไม่ต้องใช้เลือดช่วยลดค่าใช้จ่ายและตรงกับความต้องการของผู้ป่วยและเป็นการเคารพการตัดสินใจและการเลือกของผู้ป่วยด้วย (28 นาที)

สัมภาษณ์ศาสตราจารย์นายแพทย์มัสซิโม พี. ฟรานกี

“ในฐานะหมอ ผมต้องขอบคุณพยานพระยะโฮวา พวกเขาทำให้หมอที่ชอบรักษาด้วยวิธีเดิม ๆ อย่างผมต้องคิดถึงความสำคัญและความเป็นไปได้ของการรักษาโดยไม่ใช้เลือด”

สัมภาษณ์ศาสตราจารย์นายแพทย์อันโตนิโอ ดี. ปินนา

“ผมคิดว่าผู้ป่วยทุกคนเหมือนกันไม่ว่าเขาจะนับถือศาสนาอะไร ผู้ป่วยที่ไม่ใช่พยานฯ และไม่ต้องการรับเลือดก็มีเยอะแยะ”

สัมภาษณ์นายแพทย์ลูกา พี. เวลเทิร์ท

“หมอสมัยนี้มองการถ่ายเลือดเปลี่ยนไปแล้ว มีการสั่งจ่ายเลือดให้ผู้ป่วยน้อยลงกว่าเมื่อก่อนมาก ไม่ใช่เพราะได้รู้จักผู้ป่วยที่เป็นพยานพระยะโฮวาเท่านั้น แต่เพราะทั่วโลก เราเห็นหลักฐานที่ชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ ว่าการไม่เติมเลือดให้ผู้ป่วยได้ผลดีกว่า”

สัมภาษณ์แพทย์หญิงเปียดี เบเนเดตโต

“เราได้เรียนว่า ถ้าเราวางแผนอย่างดีก่อนที่จะรักษาคนไข้เราก็สามารถผ่าตัดโดยไม่ใช้เลือดแม้แต่ในเคสที่ซับซ้อนได้”

สัมภาษณ์นายแพทย์คลาวดิโอ รอนโค

“เราแทบไม่ต้องมีการถ่ายเลือดให้ผู้ป่วยเลย”

สัมภาษณ์นายแพทย์ปาตรีซีโอ มัซซา

“เป็นไปได้ที่จะรักษาเนื้องอกโดยไม่รับเลือด เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันซึ่งเป็นอีกประเภทหนึ่งของมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งไขกระดูกซึ่งเป็นโรคที่กำลังเพิ่มขึ้นในประเทศแถบตะวันตก”

สัมภาษณ์นายแพทย์อัลเฟรโด กูลเยลมิ

“พยานพระยะโฮวาทำให้เราต้องระมัดระวังมากขึ้นในการรักษาที่ต้องเกี่ยวข้องกับการใช้เลือด โดยเราจะใช้หลายวิธีเพื่อช่วยในการหลีกเลี่ยงการถ่ายเลือดให้ผู้ป่วย เช่น เตรียมผู้ป่วยอย่างดีให้มีความพร้อมก่อนจะรับการผ่าตัด เลือกใช้วิธีการผ่าตัดที่เหมาะกับผู้ป่วย”