มีผู้ออกแบบไหม?
ประสิทธิภาพในการเก็บข้อมูลของดีเอ็นเอ
แต่ละวันผู้ใช้คอมพิวเตอร์สร้างข้อมูลใหม่ ๆ ขึ้นมากมายและข้อมูลเหล่านี้ต้องเก็บไว้ใช้อีกในวันข้างหน้า. นักวิทยาศาสตร์หวังว่าจะพบวิธีที่ดีกว่าในการเก็บข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์โดยเลียนแบบระบบจัดเก็บข้อมูลชั้นยอดในดีเอ็นเอ.
ขอพิจารณา: ดีเอ็นเอที่พบในเซลล์สิ่งมีชีวิต เช่น คนและสัตว์ มีข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตนั้นอยู่นับพันล้านชิ้น. นิก โกลด์แมน นักวิชาการประจำสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งหนึ่งในยุโรปกล่าวว่า นักวิทยาศาสตร์สามารถสกัดดีเอ็นเอจากกระดูกช้างแมมมอทและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับตัวมันได้. เขายังบอกด้วยว่าดีเอ็นเอที่สกัดได้ “มีขนาดเล็กอย่างไม่น่าเชื่อและอัดแน่นด้วยข้อมูล แถมยังไม่ต้องใช้พลังงานในการจัดเก็บทำให้สามารถขนย้ายและเก็บรักษาได้ง่ายมาก.” ดีเอ็นเอจะเก็บข้อมูลที่มนุษย์สร้างขึ้นได้ไหม? นักวิจัยบอกว่าได้.
นักวิทยาศาสตร์ได้ทดลองสร้างดีเอ็นเอเทียมขึ้นโดยใส่ข้อความ ภาพ และเสียงให้เหมือนกับข้อมูลในคอมพิวเตอร์ทั่วไป. หลังจากนั้น พวกเขาสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นกลับมาใช้ได้ทั้งหมด. นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าในอนาคตดีเอ็นเอเทียมที่มีน้ำหนักเพียง 1 กรัมจะบรรจุข้อมูลได้มากพอ ๆ กับแผ่นซีดี 3,000,000 แผ่น และข้อมูลทั้งหมดสามารถเก็บไว้ได้นานหลายร้อยปีหรือเป็นพัน ๆ ปีเลยทีเดียว. ที่จริงแล้ว ดีเอ็นเอเทียมสามารถเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์ทั้งหมดที่มีอยู่ในโลกนี้ได้. นี่ทำให้ดีเอ็นเอได้ชื่อว่า “สุดยอดฮาร์ดไดร์ฟ.”
คุณคิดอย่างไร? ประสิทธิภาพในการเก็บข้อมูลของดีเอ็นเอเกิดขึ้นโดยวิวัฒนาการหรือมีผู้ออกแบบ?