‘ข้าแต่พระเจ้า ขอทรงโปรดใช้ความสว่างของพระองค์ออกไป’
‘ข้าแต่พระเจ้า ขอทรงโปรดใช้ความสว่างของพระองค์ออกไป’
“ขอทรงโปรดใช้ความสว่างและความจริงของพระองค์ออกไปให้นำข้าพระองค์.”—บทเพลงสรรเสริญ (เพลงสดุดี) 43:3, ฉบับแปลใหม่.
1. พระยะโฮวาทรงเปิดเผยพระประสงค์ของพระองค์อย่างไร?
พระยะโฮวาทรงคำนึงถึงผู้อื่นอย่างยิ่งในวิธีที่พระองค์ทรงแจ้งพระประสงค์แก่ผู้รับใช้ของพระองค์. แทนที่จะเปิดเผยความจริงทั้งหมดในคราวเดียวเหมือนกับแสงวาบที่อาจทำให้ตาบอดได้ พระองค์ประทานความเข้าใจฝ่ายวิญญาณแก่เราเป็นขั้น ๆ. การเดินในเส้นทางชีวิตของเราอาจเทียบได้กับนักเดินไกลที่เดินไปตามทางเดินอันยาวไกล. เขาเริ่มออกเดินทางแต่เช้าตรู่และมองเห็นอะไร ๆ เพียงเล็กน้อย. ขณะที่ดวงอาทิตย์เริ่มปรากฏขึ้นช้า ๆ จากขอบฟ้า นักเดินไกลสามารถแยกแยะบางสิ่งบางอย่างที่อยู่รอบตัว. ส่วนที่เหลือนอกนั้นเขา
เห็นเป็นเค้าราง ๆ. แต่เมื่อดวงอาทิตย์ลอยสูงขึ้นไป เขาก็เห็นได้ไกลขึ้นเรื่อย ๆ. เป็นเช่นนั้นด้วยกับความสว่างฝ่ายวิญญาณที่พระเจ้าประทานให้. พระองค์ทรงโปรดให้เราเข้าใจไม่กี่เรื่องในแต่ละครั้ง. พระเยซูคริสต์พระบุตรของพระเจ้าประทานความหยั่งเห็นเข้าใจฝ่ายวิญญาณในลักษณะคล้าย ๆ กัน. ให้เรามาพิจารณาถึงวิธีที่พระยะโฮวาประทานความหยั่งเห็นเข้าใจแก่ไพร่พลของพระองค์ในสมัยโบราณและวิธีที่พระองค์ทรงทำอย่างนั้นในปัจจุบัน.2. พระยะโฮวาทรงจัดให้มีความหยั่งเห็นเข้าใจอย่างไรในยุคก่อนคริสเตียน?
2 ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญบท 43 คงจะได้แก่เหล่าบุตรชายของโครา. ในฐานะชาวเลวี พวกเขามีสิทธิพิเศษที่จะสอนกฎหมายของพระเจ้าแก่ประชาชน. (มาลาคี 2:7) แน่นอน พระยะโฮวาทรงเป็นพระบรมครู และพวกเขาหมายพึ่งพระองค์ในฐานะแหล่งแห่งสติปัญญาทั้งปวง. (ยะซายา 30:20) ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญบทนี้อธิษฐานดังนี้: “ข้าแต่พระเจ้า . . . ขอทรงโปรดใช้ความสว่างและความจริงของพระองค์ออกไปให้นำข้าพระองค์.” (บทเพลงสรรเสริญ [เพลงสดุดี] 43:1, 3, ฉบับแปลใหม่) ตราบเท่าที่ชาวยิศราเอลซื่อสัตย์ต่อพระองค์ พระยะโฮวาทรงสอนวิถีทางของพระองค์แก่พวกเขา. หลายศตวรรษต่อมา พระยะโฮวาโปรดประทานแสงสว่างและความจริงที่น่าทึ่งที่สุดแก่พวกเขา. พระเจ้าทรงทำเช่นนั้นเมื่อพระองค์ส่งพระบุตรของพระองค์มายังแผ่นดินโลก.
3. ชาวยิวถูกทดสอบอย่างไรโดยการสอนของพระเยซู?
3 ในฐานะมนุษย์เยซูคริสต์ พระบุตรของพระเจ้าทรงเป็น “ความสว่างของโลก” อย่างแท้จริง. (โยฮัน 8:12) พระองค์ทรงสอนประชาชนเกี่ยวกับสิ่งใหม่ ๆ “หลายประการเป็นคำอุปมา.” (มาระโก 4:2) พระองค์ตรัสแก่ปนเตียวปีลาตว่า “ราชอาณาจักรของเรามิได้เป็นส่วนของโลกนี้.” (โยฮัน 18:36, ล.ม.) นั่นเป็นแนวคิดใหม่สำหรับชาวโรมัน และแน่นอนว่าสำหรับชาวยิวผู้นิยมชาติด้วย เพราะพวกเขาคิดว่าพระมาซีฮาจะปราบจักรวรรดิโรมันให้หมอบราบคาบแก้วและฟื้นฟูยิศราเอลให้คืนสู่สง่าราศีดังเดิม. พระเยซูกำลังสะท้อนความสว่างจากพระยะโฮวา แต่พระคำของพระองค์ไม่ถูกใจพวกผู้ปกครองชาวยิวซึ่ง “รักสง่าราศีของมนุษย์มากกว่าสง่าราศีของพระเจ้า.” (โยฮัน 12:42, 43, ล.ม.) ผู้คนจำนวนมากเลือกยึดมั่นอยู่กับประเพณีของมนุษย์แทนที่จะยอมรับความสว่างฝ่ายวิญญาณและความจริงจากพระเจ้า.—บทเพลงสรรเสริญ 43:3; มัดธาย 13:15.
4. เราทราบได้อย่างไรว่าเหล่าสาวกของพระเยซูจะยังคงเติบโตต่อ ๆ ไปในด้านความเข้าใจ?
4 อย่างไรก็ตาม ชายหญิงบางคนที่มีหัวใจสุจริตยินดีรับเอาความจริงที่พระเยซูทรงสอน. พวกเขาทำความก้าวหน้าอย่างสม่ำเสมอในความเข้าใจเกี่ยวกับพระประสงค์ของพระเจ้า. อย่างไรก็ตาม ขณะที่ชีวิตบนแผ่นดินโลกของครูของพวกเขาใกล้จะสิ้นสุดลง พวกเขายังคงมีสิ่งที่ต้องเรียนรู้อีกมาก. พระเยซูตรัสแก่พวกเขาว่า “เรายังมีอีกหลายสิ่งที่จะบอกเจ้าทั้งหลาย แต่ว่าตอนนี้เจ้ายังรับไว้ไม่ได้.” (โยฮัน 16:12, ล.ม.) ใช่แล้ว เหล่าสาวกจะเติบโตต่อ ๆ ไปในการเข้าใจความจริงของพระเจ้า.
แสงสว่างส่องฉายต่อไป
5. เกิดปัญหาอะไรขึ้นในศตวรรษแรก และใครรับผิดชอบในการจัดการปัญหานี้ให้เรียบร้อย?
5 ภายหลังการสิ้นพระชนม์และการคืนพระชนม์ของพระเยซู ความสว่างจากพระเจ้าส่องจ้ายิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน. ในนิมิตที่ประทานแก่เปโตร พระยะโฮวาทรงเปิดเผยว่านับแต่นั้นไปคนต่างชาติที่ไม่ได้รับสุหนัตสามารถเข้ามาเป็นสาวกของพระคริสต์ได้. (กิจการ 10:9-17) นั่นเป็นการเปิดเผยอย่างหนึ่งจากพระเจ้า! อย่างไรก็ตาม เกิดปัญหาขึ้นในเวลาต่อมาว่า พระยะโฮวาทรงเรียกร้องคนต่างชาติเหล่านั้นให้รับสุหนัตหลังจากที่เข้ามาเป็นคริสเตียนแล้วไหม? ปัญหานี้ไม่มีคำตอบในนิมิต และเรื่องนี้กลายเป็นหัวข้อถกเถียงกันอย่างเผ็ดร้อนในหมู่คริสเตียน. เรื่องนี้ต้องได้รับการจัดการให้เรียบร้อย หาไม่แล้วเอกภาพอันมีค่าของพวกเขาคงจะถูกเซาะกร่อนแน่นอน. ด้วยเหตุนั้น “อัครสาวกกับผู้ปกครองทั้งหลายจึงได้ประชุมกันปรึกษาด้วยข้อความนั้น” ในกรุงยะรูซาเลม.—กิจการ 15:1, 2, 6.
6. เหล่าอัครสาวกและผู้เฒ่าผู้แก่ทำตามขั้นตอนอะไรเมื่อพวกเขาพิจารณาปัญหาเรื่องการรับสุหนัต?
6 คนเหล่านั้นที่ร่วมประชุมกันจะสามารถกำหนดลงไปให้แน่ชัดได้อย่างไรว่าพระทัยประสงค์ของพระเจ้าเป็นเช่นไรสำหรับคนต่างชาติที่เข้ามาเชื่อถือ? พระยะโฮวาไม่ได้ส่งทูตสวรรค์องค์หนึ่งให้เป็นประธานในการพิจารณานั้น อีกทั้งมิได้โปรดประทานนิมิตแก่ผู้ที่อยู่ที่นั่น. กระนั้น อัครสาวกและผู้เฒ่าผู้แก่ไม่ได้ถูกทิ้งให้ปราศจากการชี้นำโดยสิ้นเชิง. พวกเขาพิจารณาหลักฐานจากคริสเตียนชาวยิวบางคนซึ่งได้เห็นวิธีที่พระเจ้าทรงเริ่มติดต่อกับผู้คนในชาติต่าง ๆ เทพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระองค์ลงเหนือคนต่างชาติที่ไม่ได้รับกิจการ 15:12-29; 16:4.
สุหนัต. พวกเขายังได้ค้นดูพระคัมภีร์เพื่อจะได้การนำทาง. ผลก็คือ สาวกยาโกโบได้ให้ข้อเสนอแนะซึ่งอาศัยพื้นฐานจากข้อพระคัมภีร์ที่ให้ความหยั่งเห็นเข้าใจ. เมื่อพวกเขาใคร่ครวญหลักฐานนั้นแล้ว พระทัยประสงค์ของพระเจ้าก็เริ่มกระจ่างขึ้น. คนต่างชาติไม่จำเป็นต้องรับสุหนัตเพื่อจะเป็นที่ชอบพระทัยพระยะโฮวา. เหล่าอัครสาวกและผู้เฒ่าผู้แก่เขียนจดหมายโดยไม่รอช้า แจ้งถึงการตัดสินนั้นเพื่อให้การชี้นำแก่เพื่อนคริสเตียน.—7. คริสเตียนในศตวรรษแรกก้าวหน้าในทางใด?
7 ไม่เหมือนกับพวกหัวหน้าศาสนาชาวยิวที่ยึดมั่นอยู่กับประเพณีของบรรพบุรุษ คริสเตียนชาวยิวส่วนใหญ่ยินดีเมื่อพวกเขาได้รับความเข้าใจใหม่อันน่าทึ่งในเรื่องพระประสงค์ของพระเจ้าในส่วนที่เกี่ยวข้องกับชนนานาชาติ แม้ว่าการยอมรับเช่นนี้ทำให้จำเป็นต้องเปลี่ยนทัศนะต่อคนต่างชาติโดยทั่วไป. พระยะโฮวาทรงอวยพระพรน้ำใจถ่อมของพวกเขา และ “ประชาคมทั้งหลายจึงได้รับการเสริมต่อ ๆ ไปให้มั่นคงอยู่ในความเชื่อ และทวีจำนวนมากขึ้นทุกวัน.”—กิจการ 15:31; 16:5, ล.ม.
8. (ก) เราทราบได้อย่างไรว่าแสงสว่างจะแรงกล้ายิ่งขึ้นหลังจากสิ้นศตวรรษแรก? (ข) เราจะพิจารณาคำถามอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้?
8 ความสว่างฝ่ายวิญญาณส่องฉายต่อไปตลอดศตวรรษแรก. แต่พระยะโฮวาไม่ได้เปิดเผยทุกแง่มุมแห่งพระประสงค์ของพระองค์แก่คริสเตียนยุคแรก. อัครสาวกเปาโลบอกเพื่อนร่วมความเชื่อในศตวรรษแรกว่า “ในปัจจุบันเราเห็นเป็นเค้าราง ๆ โดยอาศัยกระจกเงาโลหะ.” (1 โกรินโธ 13:12, ล.ม.) กระจกเงาแบบนี้มีพื้นผิวที่สะท้อนแสงได้ไม่ดีนัก. ดังนั้น ทีแรกความเข้าใจในความสว่างฝ่ายวิญญาณจะยังมีจำกัด. ภายหลังการเสียชีวิตของเหล่าอัครสาวก ความสว่างริบหรี่ลงไปชั่วขณะหนึ่ง แต่ช่วงไม่นานมานี้ความรู้ในพระคัมภีร์ได้มีอุดมบริบูรณ์. (ดานิเอล 12:4) พระยะโฮวาประทานความหยั่งเห็นเข้าใจแก่ไพร่พลของพระองค์ในปัจจุบันอย่างไร? และเราควรตอบสนองอย่างไรเมื่อพระองค์ทรงขยายความเข้าใจของเราในพระคัมภีร์?
ความสว่างจ้าขึ้นเป็นขั้น ๆ
9. กลุ่มนักศึกษาคัมภีร์ไบเบิลรุ่นแรกใช้วิธีอะไรในการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลซึ่งดีเป็นพิเศษและมีประสิทธิภาพ?
9 ปัจจุบัน ความสว่างแท้เริ่มปรากฏอย่างริบหรี่เป็นครั้งแรกในช่วงยี่สิบห้าปีสุดท้ายของศตวรรษที่ 19 เมื่อคริสเตียนชายหญิงกลุ่มหนึ่งเริ่มศึกษาพระคัมภีร์อย่างเอาจริงเอาจัง. พวกเขาพัฒนาวิธีที่ใช้ได้ผลจริงในการศึกษาคัมภีร์ไบเบิล. จะมีคนหนึ่งตั้งคำถามขึ้น; แล้วทั้งกลุ่มก็จะช่วยกันวิเคราะห์ข้อพระคัมภีร์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง. เมื่อข้อคัมภีร์ข้อหนึ่งดูเหมือนขัดแย้งกับอีกข้อหนึ่ง คริสเตียนที่จริงใจเหล่านี้ก็จะพยายามทำให้ข้อคัมภีร์ทั้งสองนั้นประสานกัน. ไม่เหมือนกับพวกหัวหน้า
ศาสนาในเวลานั้น กลุ่มนักศึกษาคัมภีร์ไบเบิล (ชื่อที่รู้จักกันในเวลานั้นของพยานพระยะโฮวา) ตั้งใจแน่วแน่ว่าจะให้พระคัมภีร์บริสุทธิ์เป็นเครื่องนำทางพวกเขา ไม่ใช่ประเพณีหรือหลักคำสอนของมนุษย์. หลังจากที่พวกเขาได้พิจารณาหลักฐานทางพระคัมภีร์ที่มีอยู่ทั้งหมดแล้ว พวกเขาบันทึกข้อสรุปของตนไว้. โดยวิธีนี้ ความเข้าใจของพวกเขาในหลักคำสอนพื้นฐานหลายข้อของคัมภีร์ไบเบิลจึงแจ่มชัดขึ้น.10. ชาลส์ เทซ รัสเซลล์เขียนหนังสืออะไรซึ่งเป็นคู่มือการศึกษาคัมภีร์ไบเบิล?
10 บุคคลที่นับว่าโดดเด่นท่ามกลางนักศึกษาคัมภีร์ไบเบิลคือชาลส์ เทซ รัสเซลล์. ท่านเขียนชุดหนังสือหกเล่มซึ่งช่วยในการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลที่ชื่อคู่มือการศึกษาพระคัมภีร์. บราเดอร์รัสเซลล์ตั้งใจไว้ว่าจะเขียนหนังสือเล่มที่เจ็ด ซึ่งจะอธิบายพระธรรมสองเล่มในคัมภีร์ไบเบิลคือยะเอศเคลและวิวรณ์. ท่านกล่าวว่า “เมื่อใดก็ตามที่ข้าพเจ้าพบกุญแจไขความเข้าใจ ข้าพเจ้าจะเขียนเล่มที่เจ็ด.” อย่างไรก็ตาม ท่านกล่าวต่อว่า “หากองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงมอบกุญแจนั้นแก่ใครอื่น คนนั้นก็สามารถเขียนได้.”
11. มีความเกี่ยวข้องกันเช่นไรระหว่างเวลากำหนดกับความเข้าใจของเราในเรื่องพระประสงค์ของพระเจ้า?
11 คำกล่าวข้างต้นของ ซี. ที. รัสเซลล์แสดงถึงปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสามารถของเราที่จะเข้าใจข้อความบางตอนของคัมภีร์ไบเบิล นั่นคือปัจจัยในเรื่องเวลากำหนด. บราเดอร์รัสเซลล์ทราบว่าท่านไม่อาจบังคับความสว่างให้ฉายความเข้าใจในพระธรรมวิวรณ์ เช่นเดียวกับนักเดินไกลที่ใจร้อนซึ่งไม่ว่าจะพยายามอย่างไรก็ไม่สามารถเร่งให้ดวงอาทิตย์ขึ้นก่อนเวลากำหนด.
เปิดเผย—แต่ตามเวลากำหนดของพระเจ้า
12. (ก) จะเข้าใจคำพยากรณ์ของคัมภีร์ไบเบิลได้ดีที่สุดเมื่อไร? (ข) ตัวอย่างอะไรแสดงว่าความสามารถของเราในการเข้าใจคำพยากรณ์ของคัมภีร์ไบเบิลขึ้นอยู่กับตารางเวลาของพระเจ้า? (ดูเชิงอรรถ.)
12 เช่นเดียวกับที่เหล่าอัครสาวกเข้าใจคำพยากรณ์หลายข้อเกี่ยวกับพระมาซีฮาก็ต่อเมื่อพระเยซูสิ้นพระชนม์และฟื้นคืนพระชนม์ไปแล้ว คริสเตียนในปัจจุบันเข้าใจคำพยากรณ์ของคัมภีร์ไบเบิลอย่างละเอียดละออที่สุดก็ต่อเมื่อคำพยากรณ์นั้นสำเร็จไปแล้ว. (ลูกา 24:15, 27; กิจการ 1:15-21; 4:26, 27) พระธรรมวิวรณ์เป็นหนังสือแห่งคำพยากรณ์ ดังนั้นเราควรคาดหมายที่จะเข้าใจพระธรรมนี้ชัดเจนที่สุดเมื่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่มีพรรณนาไว้ที่นั่นปรากฏชัดขึ้นเรื่อย ๆ. ตัวอย่างเช่น ซี. ที. รัสเซลล์ไม่สามารถเข้าใจอย่างถูกต้องถึงความหมายโดยนัยของสัตว์ร้ายสีแดงเข้มซึ่งมีกล่าวไว้ที่วิวรณ์ 17:9-11 เนื่องจากองค์การที่สัตว์ร้ายนั้นหมายถึง คือสันนิบาตชาติและสหประชาชาติ ไม่ได้มีอยู่เสียด้วยซ้ำจนกระทั่งภายหลังท่านสิ้นชีวิตไปแล้ว. *
13. บางครั้งเกิดอะไรขึ้นเมื่อมีความสว่างส่องให้เข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งในคัมภีร์ไบเบิล?
13 เมื่อคริสเตียนยุคแรกเรียนรู้ว่าคนต่างชาติที่ไม่รับสุหนัตสามารถเข้ามาเป็นเพื่อนร่วมความเชื่อ การเปลี่ยนแปลงนั้นทำให้เกิดปัญหาใหม่ในเรื่องความจำเป็นที่ชนจากชาติต่าง ๆ จะรับสุหนัต. เรื่องนี้กระตุ้นเหล่าอัครสาวกและผู้เฒ่าผู้แก่ให้พิจารณากันใหม่ในประเด็นทั้งหมดเกี่ยวกับการรับสุหนัต. มีการปฏิบัติตามแบบแผนเดียวกันนี้ในสมัยปัจจุบัน. บางครั้ง ความสว่างเจิดจ้าส่องแวบขึ้นมาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งของคัมภีร์ไบเบิลทำให้ผู้รับใช้ที่ถูกเจิมของพระเจ้า “ทาสสัตย์ซื่อและสุขุม” พิจารณากันใหม่ถึงหัวข้อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังตัวอย่างต่อไปนี้เมื่อไม่นานนี้เองแสดงให้เห็น.—มัดธาย 24:45, ล.ม.
14-16. การปรับทัศนะของเราในเรื่องพระวิหารฝ่ายวิญญาณมีผลอย่างไรต่อความเข้าใจของเราในยะเอศเคลบท 40 ถึง 48?
14 ในปี 1971 ได้มีการจัดพิมพ์คำอธิบายคำพยากรณ์ของพระธรรมยะเอศเคลในหนังสือชื่อ “นานาชาติจะรู้ว่าเราคือยะโฮวา”—โดยวิธีใด? (ภาษาอังกฤษ) มีอยู่บทหนึ่งของหนังสือนี้พิจารณาสั้น ๆ ถึงนิมิตของยะเอศเคลเกี่ยวกับพระวิหาร. (ยะเอศเคล บท 40-48) ในตอนนั้น ได้มีการเน้นถึงวิธีที่นิมิตของยะเอศเคลเกี่ยวกับพระวิหารจะสำเร็จเป็นจริงในโลกใหม่.—2 เปโตร 3:13.
15 อย่างไรก็ตาม บทความสองเรื่องที่ลงพิมพ์ในหอสังเกตการณ์ ฉบับ 1 ธันวาคม 1972 มีผลต่อความเข้าใจของเราในนิมิตของยะเอศเคล. บทความดังกล่าวพิจารณาพระ
วิหารใหญ่ฝ่ายวิญญาณที่อัครสาวกเปาโลพรรณนาไว้ในเฮ็บรายบท 10. หอสังเกตการณ์ ฉบับนั้นอธิบายว่าห้องบริสุทธิ์และลานพระวิหารชั้นในของพระวิหารฝ่ายวิญญาณเกี่ยวข้องกับสภาพของผู้ถูกเจิมขณะที่พวกเขาอยู่บนแผ่นดินโลก. เมื่อมีการทบทวนยะเอศเคลบท 40 ถึง 48 ในอีกหลายปีต่อมา ก็ได้ความเข้าใจว่าเช่นเดียวกับที่พระวิหารฝ่ายวิญญาณกำลังดำเนินงานอยู่ในปัจจุบัน พระวิหารที่ยะเอศเคลเห็นในนิมิตก็ต้องกำลังดำเนินงานอยู่ในปัจจุบันเช่นกัน. โดยวิธีใด?16 ในนิมิตของยะเอศเคล จะเห็นได้ว่าเหล่าปุโรหิตเดินไปเดินมาอยู่ในบริเวณลานพระวิหารขณะที่พวกเขารับใช้ตระกูลที่ไม่ใช่ปุโรหิต. เห็นได้ชัดว่า ปุโรหิตเหล่านี้เล็งถึง “คณะปุโรหิตหลวง” ผู้รับใช้ที่ได้รับการเจิมจากพระยะโฮวา. (1 เปโตร 2:9, ล.ม.) อย่างไรก็ตาม พวกเขาจะไม่รับใช้ที่ลานพระวิหารทางแผ่นดินโลกนี้ตลอดช่วงรัชสมัยพันปีของพระคริสต์. (วิวรณ์ 20:4) ระหว่างเวลาส่วนใหญ่ในช่วงนั้น—หากไม่ใช่ทั้งหมดของช่วงนั้น—พวกผู้ถูกเจิมจะรับใช้พระเจ้าในห้องบริสุทธิ์ที่สุดของพระวิหารฝ่ายวิญญาณ คือ “ในสวรรค์นั้นเอง.” (เฮ็บราย 9:24, ล.ม.) เนื่องจากเห็นได้ว่าเหล่าปุโรหิตไป ๆ มา ๆ ในลานพระวิหารของยะเอศเคล นิมิตนั้นจึงต้องกำลังสำเร็จเป็นจริงอยู่ในปัจจุบัน ขณะที่ผู้ถูกเจิมบางคนยังคงอยู่บนแผ่นดินโลกนี้. อย่างสอดคล้องต้องกัน วารสารนี้ในฉบับ 1 มีนาคม 1999 แสดงให้เห็นถึงทัศนะที่ได้มีการปรับใหม่ในเรื่องดังกล่าว. ดังนั้น ตลอดมาจนถึงปลายศตวรรษที่ 20 ได้มีการฉายความสว่างฝ่ายวิญญาณให้เข้าใจคำพยากรณ์ของยะเอศเคล.
จงเต็มใจปรับทัศนะของคุณ
17. คุณได้ปรับทัศนะส่วนตัวอะไรบ้างนับตั้งแต่ได้มาเรียนรู้ความจริง และการปรับเหล่านั้นให้ประโยชน์แก่คุณอย่างไร?
17 ใครก็ตามที่ปรารถนาจะเข้าถึงความรู้แห่งความจริงต้องเต็มใจนำ “ความคิดทุกประการเข้าสู่การควบคุมเพื่อทำให้เชื่อฟังพระคริสต์.” (2 โกรินโธ 10:5, ล.ม.) นั่นไม่ง่ายเสมอไป โดยเฉพาะเมื่อทัศนะบางอย่างฝังรากลึก. ตัวอย่างเช่น ก่อนเรียนความจริงของพระเจ้า คุณอาจร่วมฉลองวันหยุดทางศาสนาบางอย่างกับครอบครัว. หลังจากคุณเริ่มเรียนคัมภีร์ไบเบิล คุณตระหนักว่าการฉลองเหล่านี้แท้จริงแล้วมีจุดเริ่มต้นจากศาสนานอกรีต. ทีแรก คุณอาจลังเลที่จะปฏิบัติตามสิ่งที่คุณกำลังเรียนรู้. อย่างไรก็ตาม ในที่สุดความรักต่อพระเจ้าก็ปรากฏว่ามีพลังมากกว่าความรู้สึกทางศาสนา และคุณเลิกเข้าร่วมการฉลองเหล่านั้นซึ่งไม่เป็นที่พอพระทัยพระเจ้า. พระยะโฮวาทรงอวยพระพรการตัดสินใจของคุณมิใช่หรือ?—เทียบกับเฮ็บราย 11:25.
18. เราควรมีปฏิกิริยาอย่างไรเมื่อมีการอธิบายให้เราเข้าใจความจริงในคัมภีร์ไบเบิลชัดขึ้น?
18 เราได้รับประโยชน์เสมอจากการทำสิ่งต่าง ๆ ตามแนวทางของพระเจ้า. (ยะซายา 48:17, 18) ดังนั้น เมื่อเราเห็นว่ามีการอธิบายข้อความตอนหนึ่งของคัมภีร์ไบเบิลชัดขึ้น ก็ให้เรายินดีในความจริงที่กำลังก้าวรุดหน้า! ที่จริง การที่เรามีความหยั่งเห็นเข้าใจฝ่ายวิญญาณอย่างต่อเนื่องเป็นข้อยืนยันว่าเราอยู่บนเส้นทางที่ถูกต้อง. “วิถีของเหล่าคนชอบธรรม” นั่นเองที่ “เป็นดุจแสงสว่างอันรุ่งโรจน์ซึ่งส่องแสงกล้าขึ้นทุกทีจนกระทั่งถึงวันได้ตั้งขึ้นมั่นคง.” (สุภาษิต 4:18, ล.ม.) จริงอยู่ ปัจจุบันเรามองเห็นแง่มุมบางอย่างแห่งพระประสงค์ของพระเจ้า “เป็นเค้าราง ๆ.” แต่เมื่อถึงเวลาที่พระเจ้าทรงกำหนดไว้ เราจะเห็นความจริงอันงดงามทั้งหมด หากเท้าของเรายังคงยืนหยัดอย่างมั่นคงบน “วิถี” นี้. ในระหว่างนี้ ขอให้เรายินดีปรีดาในความจริงทั้งหลายที่พระยะโฮวาได้ทรงทำให้ชัดเจน คอยท่าความหยั่งเห็นเข้าใจในความจริงที่ยังไม่เข้าใจชัด.
19. วิธีหนึ่งที่จะแสดงว่าเรารักความจริงคืออะไร?
19 เราจะแสดงความรักของเราต่อความสว่างได้อย่างไรในภาคปฏิบัติ? วิธีหนึ่งคือโดยการอ่านพระคำของพระเจ้าเป็นประจำ—ทุกวันหากเป็นไปได้. คุณติดตามรายการอ่านคัมภีร์ไบเบิลเป็นประจำไหม? วารสารหอสังเกตการณ์
และตื่นเถิด! ให้อาหารฝ่ายวิญญาณที่ส่งเสริมสุขภาพของเราอย่างอุดมสมบูรณ์ด้วย. นอกจากนั้น ขอให้คิดถึงหนังสือ, จุลสาร, และสิ่งพิมพ์อื่น ๆ ด้วยซึ่งได้จัดเตรียมไว้เพื่อผลประโยชน์ของเรา. และจะว่าอย่างไรสำหรับรายงานที่หนุนกำลังใจเกี่ยวกับกิจการงานประกาศเรื่องราชอาณาจักรซึ่งพิมพ์ไว้ในหนังสือประจำปีแห่งพยานพระยะโฮวา?20. มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไรระหว่างความสว่างและความจริงจากพระยะโฮวากับการที่เราเข้าร่วมการประชุมคริสเตียน?
20 ถูกแล้ว พระยะโฮวาทรงตอบอย่างน่าพิศวงต่อคำอธิษฐานซึ่งกล่าวไว้ที่บทเพลงสรรเสริญ (เพลงสดุดี) 43:3 (ฉบับแปลใหม่). ส่วนท้ายของข้อนั้น เราอ่านว่า “[ขอทรงโปรดใช้ความสว่างและความจริงของพระองค์] นำข้าพระองค์มาถึงภูเขาบริสุทธิ์ของพระองค์และถึงที่ประทับของพระองค์.” คุณคอยท่าที่จะนมัสการพระยะโฮวาร่วมกับคนอื่น ๆ อีกมากมายไหม? การสอนฝ่ายวิญญาณ ณ การประชุมต่าง ๆ เป็นวิธีสำคัญอย่างหนึ่งที่พระยะโฮวาทรงจัดให้มีความหยั่งเห็นเข้าใจในปัจจุบัน. เราจะทำอะไรได้เพื่อทำให้ความหยั่งรู้ค่าของเราต่อการประชุมคริสเตียนลึกซึ้งยิ่งขึ้น. เราขอเชิญคุณให้พิจารณาเรื่องนี้อย่างจริงจังในบทความถัดไป.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 12 หลังจากที่ ซี. ที. รัสเซลล์เสียชีวิตแล้ว ได้มีการจัดทำหนังสือที่ถือว่าเป็นเล่มที่เจ็ดของคู่มือการศึกษาพระคัมภีร์ ซึ่งพยายามที่จะให้คำอธิบายพระธรรมยะเอศเคลและวิวรณ์. ส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้อาศัยคำอธิบายพระธรรมทั้งสองที่รัสเซลล์ได้ให้ไว้. อย่างไรก็ตาม เวลาที่จะเปิดเผยความหมายของคำพยากรณ์เหล่านั้นยังมาไม่ถึง และโดยทั่วไปแล้วคำอธิบายที่ให้ไว้ในเล่มนี้ของคู่มือการศึกษาพระคัมภีร์ ยังไม่ชัดเจน. ในปีต่อ ๆ มา พระกรุณาอันไม่พึงได้รับของพระยะโฮวาและเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในฉากของโลกได้ทำให้คริสเตียนเข้าใจความหมายของหนังสือแห่งคำพยากรณ์ทั้งสองนี้อย่างถูกต้องยิ่งขึ้น.
คุณตอบได้ไหม?
• เหตุใดพระยะโฮวาทรงเปิดเผยพระประสงค์ของพระองค์เป็นขั้น ๆ?
• อัครสาวกและผู้เฒ่าผู้แก่ในยะรูซาเลมจัดการอย่างไรในเรื่องการรับสุหนัต?
• กลุ่มนักศึกษาคัมภีร์ไบเบิลรุ่นแรกใช้วิธีอะไรในการศึกษาคัมภีร์ไบเบิล และทำไมนั่นเป็นวิธีที่ดีเป็นพิเศษ?
• จงยกตัวอย่างถึงวิธีที่ความสว่างฝ่ายวิญญาณได้รับการเปิดเผยตามเวลากำหนดของพระเจ้า.
[คำถาม]
[ภาพหน้า 12]
ชาลส์ เทซ รัสเซลล์ทราบว่าความสว่างจะส่องให้เข้าใจพระธรรมวิวรณ์เมื่อถึงเวลากำหนดของพระเจ้า