‘จงใช้พระคำของพระเจ้าอย่างถูกต้อง’
‘จงใช้พระคำของพระเจ้าอย่างถูกต้อง’
“จงทำสุดความสามารถเพื่อสำแดงตนให้เป็นที่พอพระทัยพระเจ้า เป็นคนงานที่ไม่มีอะไรต้องอาย ใช้คำแห่งความจริงอย่างถูกต้อง.”—2 ติโมเธียว 2:15, ล.ม.
1, 2. (ก) ทำไมคนงานจึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือ? (ข) คริสเตียนเข้าส่วนร่วมในงานอะไร และพวกเขาแสดงอย่างไรว่าเขาแสวงหาราชอาณาจักรก่อน?
คนงานจำเป็นต้องมีเครื่องมือเพื่อช่วยพวกเขาในการทำงาน. แต่ใช่ว่าจะเพียงแต่มีเครื่องมืออะไรก็ได้. คนงานต้องมีเครื่องมือที่เหมาะสม และเขาต้องรู้วิธีใช้เครื่องมือนั้นอย่างถูกต้อง. ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณกำลังสร้างโรงเก็บของเล็ก ๆ และต้องการจะยึดไม้สองแผ่นเข้าด้วยกัน สิ่งที่คุณจำเป็นต้องมีไม่ใช่แค่ค้อนกับตะปู. คุณจำเป็นต้องรู้วิธีตอกตะปูให้ฝังลงไปในเนื้อไม้โดยไม่ให้ตะปูงอ. การพยายามตอกตะปูลงไปในเนื้อไม้โดยไม่รู้วิธีใช้ค้อนคงทำได้ยากมาก อาจถึงกับทำให้ข้องขัดใจด้วยซ้ำ. แต่การใช้เครื่องมืออย่างถูกต้องจะช่วยให้เราทำงานสำเร็จ พร้อมด้วยผลงานที่น่าพอใจ.
2 ฐานะคริสเตียน เรามีงานที่จะต้องทำ ซึ่งนับว่าเป็นงานที่สำคัญอย่างยิ่ง. พระเยซูคริสต์กระตุ้นเหล่าสาวกของพระองค์ให้ “แสวงหาราชอาณาจักร . . . ก่อน.” (มัดธาย 6:33, ล.ม.) เราจะทำเช่นนั้นได้อย่างไร? วิธีหนึ่งคือมีใจแรงกล้าในงานประกาศราชอาณาจักรและงานทำให้คนเป็นสาวก. การให้งานรับใช้ของเรายึดมั่นกับพระคำของพระเจ้าก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง. วิธีที่สามคือมีความประพฤติที่ดีงาม. (มัดธาย 24:14; 28:19, 20; กิจการ 8:25; 1 เปโตร 2:12) เพื่อจะบังเกิดผลและมีความสุขในงานมอบหมายของคริสเตียนนี้ เราจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่เหมาะสมและมีความรู้ในเรื่องวิธีใช้เครื่องมืออย่างถูกต้อง. ในเรื่องนี้ อัครสาวกเปาโลวางตัวอย่างที่ดีเยี่ยมไว้ฐานะคนงานคริสเตียน และท่านกระตุ้นเพื่อนร่วมความเชื่อให้เลียนแบบท่าน. (1 โกรินโธ 11:1; 15:10) ถ้าอย่างนั้น เราจะเรียนอะไรได้จากเปาโล ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมทำการด้วยกันกับเรา?
เปาโล—ผู้ประกาศราชอาณาจักรที่มีใจแรงกล้า
3. เหตุใดจึงกล่าวได้ว่าอัครสาวกเปาโลเป็นคนงานราชอาณาจักรที่มีใจแรงกล้า?
3 เปาโลเป็นคนงานแบบไหน? ท่านมีใจแรงกล้าทีเดียว. ท่านทุ่มเทตัวอย่างสุดกำลัง เผยแพร่ข่าวดีออกไปอย่างกว้างไกลในแถบบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน. เมื่อให้เหตุผลสำหรับการประกาศอย่างแข็งขันเรื่องราชอาณาจักร อัครสาวกผู้ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยคนนี้กล่าวว่า “ถ้าบัดนี้ข้าพเจ้าจะประกาศข่าวดีก็ไม่มีเหตุที่ข้าพเจ้าจะโอ้อวด ด้วยว่าข้าพเจ้า1 โกรินโธ 9:16, ล.ม.) เปาโลสนใจแต่การช่วยชีวิตตนเองให้รอดเท่านั้นไหม? หามิได้. ท่านไม่ใช่คนที่เป็นห่วงแต่ตัวเอง. แทนที่จะเป็นอย่างนั้น ท่านปรารถนาให้คนอื่นได้รับประโยชน์จากข่าวดีด้วย. ท่านเขียนว่า “ข้าพเจ้าทำทุกสิ่งเพื่อเห็นแก่ข่าวดี เพื่อข้าพเจ้าจะเป็นผู้มีส่วนร่วมในข่าวดีกับคนอื่น ๆ.”—1 โกรินโธ 9:23, ล.ม.
ได้รับมอบหมายหน้าที่. แท้จริงแล้ว วิบัติจะเกิดแก่ข้าพเจ้าถ้าข้าพเจ้ามิได้ประกาศข่าวดี!” (4. เครื่องมืออะไรที่คนงานคริสเตียนถือว่าสำคัญที่สุด?
4 อัครสาวกเปาโลเป็นคนงานที่เจียมตัว ท่านตระหนักว่าไม่อาจทำงานนี้ได้โดยอาศัยเพียงความสามารถของท่านเอง. ช่างไม้ต้องการค้อนฉันใด เปาโลก็ต้องการเครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อฝังความจริงเรื่องพระเจ้าเข้าไปในหัวใจของผู้ฟังฉันนั้น. เปาโลใช้เครื่องมืออะไรเป็นหลัก? เครื่องมือนั้นคือพระคัมภีร์บริสุทธิ์ พระคำของพระเจ้า. ทำนองเดียวกัน คัมภีร์ไบเบิลทั้งเล่มเป็นเครื่องมือสำคัญที่สุดที่เราใช้เพื่อช่วยเราในการทำคนให้เป็นสาวก.
5. เพื่อเราจะเป็นผู้รับใช้ที่บังเกิดผล จำเป็นต้องทำอะไรนอกเหนือจากการยกข้อความจากพระคัมภีร์?
5 เปาโลรู้ว่าการใช้พระคำของพระเจ้าอย่างถูกต้องหมายความมากกว่าการยกข้อคัมภีร์ขึ้นมากล่าว. ท่านใช้ “การโน้มน้าวใจ.” (กิจการ 28:23, ล.ม.) โดยวิธีใด? เปาโลใช้พระคำของพระเจ้าโน้มน้าวใจหลายคนให้ตอบรับความจริงเรื่องราชอาณาจักรอย่างบังเกิดผล. ท่านหาเหตุผลกับพวกเขา. เปาโล “บรรยายเรื่องต่าง ๆ และพูดจูงใจเกี่ยวด้วยเรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้า” เป็นเวลาสามเดือนในธรรมศาลาที่เมืองเอเฟโซส์. ขณะที่ “บางคนดื้อดึงและไม่เชื่อ” แต่บางคนก็ฟัง. ผลจากงานรับใช้ของเปาโลในเมืองเอเฟโซส์ คือ “พระคำของพระยะโฮวาจึงเจริญงอกงามและมีชัยเรื่อยไป.”—กิจการ 19:8, 9, 20, ล.ม.
6, 7. เปาโลยกย่องงานรับใช้ของท่านอย่างไร และเราจะทำอย่างเดียวกันนั้นได้โดยวิธีใด?
6 ฐานะผู้ประกาศราชอาณาจักรที่มีใจแรงกล้า เปาโล ‘ยกย่องงานรับใช้ของท่าน.’ (โรม 11:13, ล.ม.) โดยวิธีใด? ท่านไม่ได้สนใจที่จะยกย่องตัวเอง หรืออายที่จะให้ใครรู้จักท่านว่าเป็นเพื่อนร่วมทำการกับพระเจ้า. แทนที่จะเป็นอย่างนั้น ท่านถือว่างานรับใช้ของท่านเป็นงานที่มีเกียรติอย่างยิ่ง. เปาโลใช้พระคำของพระเจ้าอย่างชำนิชำนาญและอย่างที่เกิดผล. งานรับใช้ที่บังเกิดผลของเปาโลปลุกเร้าคนอื่น ๆ ช่วยกระตุ้นพวกเขาทำงานรับใช้ของตนให้สำเร็จผลเต็มที่ยิ่งขึ้น. โดยวิธีนี้ ก็เป็นการยกย่องงานรับใช้ของท่านเช่นกัน.
7 เช่นเดียวกับเปาโล ในฐานะผู้รับใช้ เรายกย่องงานของเราได้ด้วยการใช้พระคำของพระเจ้าเป็นประจำและอย่างบังเกิดผล. ในทุกลักษณะแห่งงานประกาศสั่งสอนของเรา เป้าหมายของเราควรเป็นการแบ่งปันบางสิ่งจากพระคัมภีร์ให้กับผู้คนมากเท่าที่เป็นไปได้. เราจะทำเช่นนี้โดยการโน้มน้าวใจได้อย่างไร? ขอให้พิจารณาสามวิธีที่สำคัญ: (1) มุ่งความสนใจไปยังพระคำของพระเจ้าอย่างที่ก่อให้เกิดความนับถือต่อพระคำนั้น. (2) อธิบายอย่างผ่อนหนักผ่อนเบาว่าข้อคัมภีร์นั้นสนับสนุนจุดที่กำลังพิจารณาอย่างไร. (3) หาเหตุผลจากพระคัมภีร์อย่างที่น่าเชื่อถือ.
8. เรามีเครื่องมืออะไรบ้างสำหรับงานประกาศราชอาณาจักรในปัจจุบัน และคุณใช้เครื่องมือเหล่านี้อย่างไร?
8 ผู้ประกาศราชอาณาจักรในปัจจุบันมีเครื่องมือต่าง ๆ ที่เปาโลไม่มีในงานรับใช้ของท่าน. เครื่องมือเหล่านี้รวมถึงหนังสือ, วารสาร, จุลสาร, ใบปลิว, แผ่นพับ, สื่อบันทึกภาพและเสียง. ในศตวรรษที่ผ่านมา เรายังได้ใช้บัตรให้คำพยาน, เครื่องเล่นแผ่นเสียง, รถกระจายเสียง, และการออกอากาศทางสถานีวิทยุด้วย. แน่นอน เครื่องมือที่ดีที่สุดของเราคือคัมภีร์ไบเบิล และเราจำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่ขาดไม่ได้นี้อย่างบังเกิดผลและถูกต้อง.
ต้องยึดมั่นกับพระคำของพระเจ้าในงานรับใช้ของเรา
9, 10. ในเรื่องการใช้พระคำของพระเจ้า เราเรียนอะไรได้จากคำแนะนำที่เปาโลให้แก่ติโมเธียว?
9 เราจะใช้พระคำของพระเจ้าให้เป็นเครื่องมือที่บังเกิดผลได้อย่างไร? โดยการปฏิบัติตามถ้อยคำของเปาโลที่ให้แก่ติโมเธียว เพื่อนร่วมงานของท่าน ที่ว่า “จงทำสุดความสามารถเพื่อสำแดงตนให้เป็นที่พอพระทัยพระเจ้า เป็นคนงานที่ไม่มีอะไรต้องอาย ใช้คำแห่งความจริงอย่างถูกต้อง.” (2 ติโมเธียว 2:15, ล.ม.) การ “ใช้คำแห่งความจริงอย่างถูกต้อง” หมายถึงอะไร?
2 ติโมเธียว 4:2-4) โดยวิธีนี้ ผู้มีหัวใจสุจริตจะได้รับการสอนให้มีทัศนะของพระยะโฮวา ไม่ใช่รับเอาปรัชญาของโลก. (โกโลซาย 2:4, 8) สมัยนี้ก็เป็นเช่นนั้นด้วย.
10 คำภาษากรีกที่มีการแปลว่า ‘ใช้อย่างถูกต้อง’ ตามตัวอักษรหมายถึง “การตัดเป็นแนวตรง” หรือ “ตัดทางให้ตรง.” เฉพาะแต่ในคำแนะนำของเปาโลที่ให้แก่ติโมเธียวเท่านั้นที่มีการใช้คำนี้ในพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีก. คำเดียวกันนี้อาจใช้พรรณนาถึงการไถนาให้เป็นร่องตรง. ร่องนาที่คดไปคดมาคงจะนำความอับอายมาสู่ชาวนาผู้มีประสบการณ์เป็นแน่. เพื่อจะเป็น “คนงานที่ไม่มีอะไรต้องอาย” ติโมเธียวได้รับการเตือนใจไม่ให้หันเหออกไปจากคำสอนแท้ในพระคำของพระเจ้า. ติโมเธียวจะต้องไม่ให้ความเห็นของตนเองมีอิทธิพลต่อคำสอนของท่าน. การประกาศและการสอนของท่านจะต้องยึดพระคัมภีร์เป็นหลักอย่างเคร่งครัด. (ความประพฤติของเราต้องเป็นที่น่ายกย่อง
11, 12. ความประพฤติของเราเกี่ยวข้องอย่างไรกับการใช้พระคำของพระเจ้าอย่างถูกต้อง?
11 เราต้องไม่เพียงแต่ใช้พระคำของพระเจ้าอย่างถูกต้องด้วยการป่าวประกาศความจริงเกี่ยวกับพระคำนั้น. ความประพฤติของเราต้องประสานกับพระคำของพระเจ้าด้วย. เนื่องจาก “เราทั้งหลายเป็นผู้ร่วมทำการด้วยกันกับพระเจ้า” เราต้องไม่เป็นคนงานที่หน้าซื่อใจคด. (1 โกรินโธ 3:9) พระคำของพระเจ้ากล่าวว่า “เหตุฉะนั้นท่านผู้สอนคนอื่นไม่ได้สอนตัวเองหรือ ท่านผู้ประกาศว่าไม่ควรลักทรัพย์, ตัวท่านเองยังลักหรือ ท่านผู้สอนว่าไม่ควรล่วงประเวณี, ตัวท่านเองล่วงประเวณีหรือ ท่านผู้เกลียดชังรูปเคารพ, ตัวท่านเองลักรูปเคารพในโบสถ์หรือ.” (โรม 2:21, 22) ดังนั้น ฐานะคนงานของพระเจ้าสมัยปัจจุบัน วิธีหนึ่งที่เราจะใช้พระคำของพระเจ้าอย่างถูกต้องคือโดยการเชื่อฟังคำเตือนที่ว่า “จงวางใจในพระยะโฮวาด้วยสุดใจของเจ้า, อย่าพึ่งในความเข้าใจของตนเอง: จงรับพระองค์ให้เข้าส่วนในทางทั้งหลายของเจ้า, และพระองค์จะชี้ทางเดินของเจ้าให้แจ่มแจ้ง.”—สุภาษิต 3:5, 6.
12 เราคาดหมายได้ว่าจะเกิดผลเช่นไรเมื่อมีการใช้พระคำของพระเจ้าอย่างถูกต้อง? ขอให้พิจารณาพลังที่พระคำของพระเจ้าที่เป็นลายลักษณ์อักษรมีต่อชีวิตของผู้คนที่มีหัวใจสุจริต.
พระคำของพระเจ้ามีพลังกระตุ้นให้เปลี่ยนแปลง
13. การนำพระคำของพระเจ้ามาใช้ก่อผลเช่นไรในตัวผู้คน?
13 เมื่อผู้คนยอมรับในความน่าเชื่อถือแห่งพระคำของพระเจ้า ข่าวสารในพระคำนั้นจะส่งผลกระทบอันทรงพลังที่ช่วยให้พวกเขาทำการเปลี่ยนแปลงที่น่าทึ่งในชีวิต. เปาโลได้เห็นพระคำของพระเจ้าดำเนินกิจ อีกทั้งเป็นประจักษ์พยานถึงผลกระทบในทางดีของพระคำนั้นต่อผู้ที่เข้ามาเป็นคริสเตียนในเมืองเทสซาโลนีกาโบราณ. เหตุฉะนั้น ท่านจึงบอกพวกเขาว่า “เราขอบพระคุณพระเจ้าไม่หยุดหย่อนด้วย เพราะเมื่อท่านทั้งหลายได้รับพระคำของพระเจ้าซึ่งท่านได้ยินจากเรา ท่านรับเอาพระคำนั้นไม่ใช่อย่างคำของมนุษย์ แต่อย่างที่พระคำนั้นเป็นจริง คืออย่างพระคำของพระเจ้า ซึ่งดำเนินกิจอยู่เช่นกันในท่านทั้งหลายที่เป็นผู้เชื่อถือ.” (1 เธซะโลนิเก 2:13, ล.ม.) สำหรับคริสเตียนเหล่านั้น—ที่จริงแล้ว สำหรับสาวกแท้ของพระคริสต์ทุกคน—การหาเหตุผลที่ด้อยกว่าของมนุษย์เทียบกันไม่ได้เลยกับพระปัญญาอันสูงส่งของพระเจ้า. (ยะซายา 55:9) ชาวเมืองเทสซาโลนีกา “ยอมรับถ้อยคำนั้นในความยากลำบากเป็นอันมากด้วยความยินดีในพระวิญญาณบริสุทธิ์” และกลายเป็นแบบอย่างแก่ผู้เชื่อถือคนอื่น ๆ.—1 เธซะโลนิเก 1:5-7, ล.ม.
14, 15. ข่าวสารจากพระคำของพระเจ้ามีพลังขนาดไหน และนั่นเป็นเพราะอะไร?
14 พระคำของพระเจ้ามีพลังมาก เช่นเดียวกับพระยะโฮวา ผู้เป็นแหล่งแห่งพระคำนั้น. พระคำนั้นมาจาก “พระเจ้าผู้ทรงพระชนม์อยู่” ผู้ทรง “สร้างท้องฟ้า” ด้วยคำตรัสของพระองค์ และคำตรัสนั้นจะ ‘สำเร็จผลตามที่ได้ใช้ไป’ เสมอ. (เฮ็บราย 3:12; บทเพลงสรรเสริญ 33:6; ยะซายา 55:11) ผู้คงแก่เรียนด้านคัมภีร์ไบเบิลคนหนึ่งให้ความเห็นว่า “พระเจ้าไม่แยกพระองค์เองจากพระคำของพระองค์. พระองค์ไม่ปฏิเสธว่าไม่มีความสัมพันธ์กับพระคำ เหมือนกับว่าไม่เกี่ยวข้องอะไรกับพระองค์. . . . ด้วยเหตุนี้ พระคำของพระเจ้าจึงไม่ใช่สิ่งไร้ชีวิต ที่ไม่รับรู้ว่าได้เกิดอะไรขึ้นกับพระคำที่กล่าวไปแล้ว; เนื่องจากว่าพระคำนั้นเป็นเครื่องผูกพันที่ทำให้เป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าผู้ทรงพระชนม์อยู่.”
15 ข่าวสารจากพระคำของพระเจ้ามีพลังขนาดไหน? มีพลังมหาศาล. เปาโลเขียนได้เหมาะเจาะว่า “พระคำของพระเจ้ามีชีวิตและทรงพลังและคมกว่าดาบสองคมและแทงทะลุกระทั่งแยกจิตวิญญาณและวิญญาณ ตลอดข้อกระดูกและไขในกระดูก ทั้งสามารถสังเกตเข้าใจความคิดและความมุ่งหมายแห่งหัวใจ.”—เฮ็บราย 4:12, ล.ม.
16. พระคำของพระเจ้าเปลี่ยนแปลงบุคคลหนึ่งได้ถึงขนาดไหน?
16 ข่าวสารในพระคำของพระเจ้าที่เป็นลายลักษณ์อักษร “คมกว่าดาบสองคม.” ด้วยเหตุนี้ พระคำของพระเจ้าจึงมีพลังทะลุทะลวงยิ่งกว่าอุปกรณ์หรือเครื่องมือใด ๆ ของมนุษย์. พระคำของพระเจ้าแทงทะลุเข้าไปถึงส่วนลึกที่สุดของบุคคลหนึ่ง และสามารถเปลี่ยนสิ่งที่อยู่ในใจของบุคคลผู้นั้น ส่งผลต่อวิธีที่เขาคิดและสิ่งที่เขาปรารถนา ทำให้เขาเป็นคนงานซึ่งเป็นที่ยอมรับและมีคุณลักษณะที่พระเจ้าทรงพอพระทัย. ช่างเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังเสียจริง ๆ!
17. จงอธิบายถึงพลังแห่งพระคำของพระเจ้าที่จะทำให้คนเปลี่ยนแปลง.
17 พระคำของพระเจ้าเผยให้เห็นว่า ในส่วนลึก บุคคลหนึ่งเป็นเช่นไรจริง ๆ เมื่อเทียบกับสิ่งที่เขาคิดว่าเขาเป็น หรือที่เขาให้คนอื่นเห็น. (1 ซามูเอล 16:7) ในบางครั้ง แม้แต่คนชั่วก็อาจปิดบังตัวตนที่แท้จริงของตนโดยทำเป็นคนมีใจเมตตาหรือเลื่อมใสศาสนาบังหน้า. คนชั่วสวมหน้ากากด้วยเจตนาที่ชั่วร้าย. คนทะนงตนแสร้งทำเป็นคนใจถ่อมขณะที่อยากได้คำสรรเสริญเยินยอ. อย่างไรก็ตาม ด้วยการเผยให้เห็นสิ่งที่อยู่ในหัวใจจริง ๆ พระคำของพระเจ้าสามารถกระตุ้นคนที่ถ่อมใจให้ถอดบุคลิกภาพเก่าแล้ว “สวมบุคลิกภาพใหม่ซึ่งได้ถูกสร้างขึ้นตามพระทัยประสงค์ของพระเจ้าในความชอบธรรมและความภักดีที่แท้จริง.” (เอเฟโซ 4:22-24, ล.ม.) คำสอนต่าง ๆ ในพระคำของพระเจ้ายังสามารถเปลี่ยนคนที่ขี้อายไม่กล้า ให้เป็นพยานที่กล้าหาญของพระยะโฮวาและเป็นผู้ประกาศราชอาณาจักรที่มีใจแรงกล้า.—ยิระมะยา 1:6-9.
18, 19. โดยอาศัยเนื้อความจากสองวรรคนี้ หรือประสบการณ์ส่วนตัวในงานประกาศสั่งสอน จงแสดงว่าความจริงในพระคัมภีร์เปลี่ยนทัศนคติของผู้คนได้อย่างไร.
18 พลังแห่งพระคำของพระเจ้าที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลง
ก่อผลดีต่อผู้คนทุกหนแห่ง. ตัวอย่างเช่น กลุ่มผู้ประกาศราชอาณาจักรจากกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ไปประกาศที่จังหวัดกำปงจาม เดือนละสองหน. หลังจากได้ยินนักเทศน์คนอื่นพูดโจมตีพยานพระยะโฮวา ศิษยาภิบาลคนหนึ่งวางแผนที่จะพบกับพวกพยานฯ ที่มาเยี่ยมจังหวัดนั้นในครั้งถัดไป. เธอระดมถามคำถามเกี่ยวกับการฉลองวันนักขัตฤกษ์ต่าง ๆ และตั้งใจฟังขณะที่พยานฯ หาเหตุผลกับเธอจากพระคัมภีร์. จากนั้น เธอก็กล่าวออกมาว่า “ฉันรู้แล้วว่าสิ่งที่เพื่อนศิษยาภิบาลของฉันพูดถึงพวกคุณไม่เป็นความจริง! พวกเขาอ้างว่าพวกคุณไม่ใช้คัมภีร์ไบเบิล แต่นั่นเป็นสิ่งเดียวที่คุณใช้ตลอดเช้านี้!”19 ผู้หญิงคนนี้พิจารณาคัมภีร์ไบเบิลต่อไปกับพยานฯ และไม่ยอมให้คำขู่ว่าจะถูกขับออกจากการเป็นศิษยาภิบาลยับยั้งเธอไว้. เธอเล่าถึงการพิจารณาพระคัมภีร์ของเธอให้เพื่อนคนหนึ่งฟัง ผู้ซึ่งภายหลังก็ได้เริ่มศึกษาคัมภีร์ไบเบิลกับพยานฯ. เพื่อนคนนี้ตื่นเต้นมากกับสิ่งที่กำลังเรียนรู้ถึงกับครั้งหนึ่งในการเทศนาของเธอ เธอถูกกระตุ้นให้กล่าวว่า “มาเถิด ให้เราไปศึกษาคัมภีร์ไบเบิลกับพวกพยานพระยะโฮวา!” จากนั้นไม่นาน เธอก็ถอนตัวจากการเป็นสมาชิกของคริสตจักร. อดีตศิษยาภิบาลคนนี้, เพื่อนของเธอ, และคนอื่น ๆ เริ่มศึกษาพระคัมภีร์กับพยานพระยะโฮวา.
20. ประสบการณ์ของสตรีผู้หนึ่งในกานาแสดงให้เห็นอย่างไรถึงพลังแห่งพระคำของพระเจ้า?
20 พลังแห่งพระคำของพระเจ้าปรากฏให้เห็นเช่นกันในกรณีของเพาลีนา สตรีคนหนึ่งในประเทศกานา. ผู้ประกาศราชอาณาจักรเต็มเวลาคนหนึ่งจัดให้มีการศึกษาพระคัมภีร์กับเธอโดยใช้หนังสือความรู้ซึ่งนำไปสู่ชีวิตนิรันดร์. * เพาลีนาเป็นหนึ่งในภรรยาหลายคนของสามีในวัฒนธรรมที่ให้ผู้ชายมีภรรยาได้มากกว่าหนึ่งคน และเธอเห็นว่าตัวเองจำเป็นต้องทำการเปลี่ยนแปลง แต่สามีกับบรรดาญาติ ๆ คัดค้านอย่างหนัก. คุณตาของเธอ ซึ่งเป็นผู้พิพากษาศาลสูงและผู้ปกครองในคริสตจักร พยายามโน้มน้าวไม่ให้เธอทำเช่นนั้นโดยใช้มัดธาย 19:4-6 อย่างผิด ๆ. ดูเหมือนว่า ผู้พิพากษาพูดอย่างน่าเชื่อถือ แต่เพาลีนาก็เข้าใจได้อย่างรวดเร็วว่าเรื่องนี้คล้ายกับการบิดเบือนข้อคัมภีร์ของซาตานเมื่อมันพยายามล่อใจพระเยซูคริสต์. (มัดธาย 4:5-7) เธอจำคำตรัสที่ชัดเจนของพระเยซูในเรื่องการสมรสได้ ที่มีใจความว่าพระเจ้าทรงสร้างมนุษย์เป็นชายหนึ่งคนกับหญิงหนึ่งคน ไม่ใช่ชายหนึ่งคนกับหญิงหลายคน และทั้งสอง ไม่ใช่ทั้งสาม จะเป็นเนื้ออันเดียวกัน. เธอยึดมั่นกับการตัดสินใจของเธอ และในที่สุดมีการยอมให้เธอหย่าขาดตามประเพณีจากการเป็นภรรยาคนหนึ่งของสามีเธอ. ไม่นานหลังจากนั้น เธอก็ได้เป็นผู้ประกาศราชอาณาจักรที่รับบัพติสมาซึ่งมีความสุข.
จงใช้พระคำของพระเจ้าอย่างถูกต้องต่อ ๆ ไป
21, 22. (ก) เราอยากมีความมุ่งมั่นเช่นไรฐานะผู้ประกาศราชอาณาจักร? (ข) เราจะพิจารณาอะไรในบทความหน้า?
21 พระคำของพระเจ้าที่เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นเครื่องมืออันทรงพลังอย่างแท้จริงสำหรับเราที่จะใช้ช่วยผู้อื่นให้ทำการเปลี่ยนแปลงในชีวิตเพื่อพวกเขาจะเข้าใกล้พระยะโฮวา. (ยาโกโบ 4:8) เช่นเดียวกับคนงานที่ชำนาญใช้เครื่องมือต่าง ๆ เพื่อให้ได้ผลงานที่ดี ขอให้เรามุ่งมั่นพยายามอย่างจริงจังที่จะใช้คัมภีร์ไบเบิล พระคำของพระเจ้า ได้อย่างชำนิชำนาญในงานที่พระเจ้าทรงมอบให้ฐานะผู้ประกาศราชอาณาจักร.
22 เราจะใช้พระคัมภีร์ให้บังเกิดผลมากขึ้นในงานทำคนให้เป็นสาวกได้โดยวิธีใด? วิธีหนึ่งคือพัฒนาความสามารถของเราในการเป็นผู้สอนที่สามารถโน้มน้าวใจ. ขอให้คุณมุ่งความสนใจในบทความต่อไป เนื่องจากจะมีการแนะวิธีต่าง ๆ ในการสอนและช่วยคนอื่น ๆ ให้ยอมรับเอาข่าวสารราชอาณาจักร.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 20 จัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา.
คุณจำได้ไหม?
• มีเครื่องมืออะไรบ้างที่เตรียมไว้พร้อมสำหรับผู้ประกาศราชอาณาจักร?
• เปาโลวางตัวอย่างฐานะคนงานราชอาณาจักรในทางใดบ้าง?
• การใช้พระคำของพระเจ้าอย่างถูกต้องหมายรวมถึงอะไรบ้าง?
• พระคำของพระยะโฮวาที่เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นเครื่องมืออันทรงพลังอย่างไร?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 10]
เครื่องมือบางอย่างที่คริสเตียนใช้ในงานประกาศราชอาณาจักร