นันทนาการที่ดีงามซึ่งทำให้สดชื่น
นันทนาการที่ดีงามซึ่งทำให้สดชื่น
“ท่านทั้งหลายจะกินจะดื่มก็ดี, หรือจะทำประการใดก็ดี, จงกระทำทุกสิ่งให้เป็นที่ถวายเกียรติยศแก่พระเจ้า.”—1 โกรินโธ 10:31.
1, 2. ทำไมจึงอาจถือได้ว่ากิจกรรมที่ทำให้เพลิดเพลินเป็น “ของประทานของพระเจ้า” แต่กระนั้น คัมภีร์ไบเบิลเตือนอย่างตรงไปตรงมาเช่นไร?
เป็นธรรมดาที่เราอยากทำกิจกรรมที่ทำให้เพลิดเพลิน. พระยะโฮวา พระเจ้าของเราผู้เปี่ยมด้วยความสุข ทรงปรารถนาให้เราเพลิดเพลินกับชีวิต และพระองค์ทรงจัดให้มีหลากหลายวิธีที่เราจะเพลิดเพลินได้. (1 ติโมเธียว 1:11; 6:17) กษัตริย์ซะโลโมผู้ฉลาดสุขุมเขียนไว้ว่า “ข้าฯ รู้แล้วว่าไม่มีอะไร . . . ที่จะดีไปกว่าทำใจให้ชื่นชมยินดี . . . มนุษย์ควรจะได้กินและดื่ม, กับชื่นชมความดีความงามในบรรดาการงานของเขา, นี้แหละเป็นของประทานของพระเจ้า.”—ท่านผู้ประกาศ 3:12, 13.
2 เมื่อเราใช้เวลาสักนิดคิดใคร่ครวญและชื่นชมผลงานที่ดีที่ได้ทำไป นั่นทำให้ชื่นใจจริง ๆ โดยเฉพาะเมื่อได้ร่วมยินดีด้วยกันกับครอบครัวหรือเพื่อน ๆ. ความชื่นชมยินดีแบบนี้อาจถือได้ว่าเป็น “ของประทานของพระเจ้า.” แน่นอน การที่พระผู้สร้างทรงจัดเตรียมไว้ให้อย่างบริบูรณ์ไม่ได้ทำให้เรามีสิทธิ์จะหาความสนุกสนานอย่างขาดการเหนี่ยวรั้ง. คัมภีร์ไบเบิลตำหนิการเมาเหล้า, การกินเติบ, และการประพฤติผิดศีลธรรม โดยเตือนว่าคนที่ทำสิ่งเหล่านี้ “จะไม่ได้มีส่วนในแผ่นดินของพระเจ้า.”—1 โกรินโธ 6:9, 10; สุภาษิต 23:20, 21; 1 เปโตร 4:1-4.
3. อะไรจะช่วยเราให้รักษาความตื่นตัวฝ่ายวิญญาณและคำนึงถึงวันอันใหญ่ยิ่งของพระยะโฮวาเสมอ?
3 ในสมัยสุดท้ายอันวิกฤตินี้ คริสเตียนเผชิญกับข้อท้าทายอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนที่จะใช้ชีวิตอย่างรอบคอบในโลกที่เสื่อมทรามเพื่อจะไม่ประพฤติเหมือนผู้คนทั่วไปในโลก. (โยฮัน 17:15, 16) ดังที่บอกไว้ล่วงหน้า ผู้คนในชั่วอายุปัจจุบันนี้ได้กลายเป็น “คนรักการสนุกสนานมากกว่ารักพระเจ้า” ถึงขนาดที่พวกเขา “ไม่แยแส” ต่อหลักฐานที่ว่า “ความทุกข์ลำบากใหญ่” จวนจะมาถึงแล้ว. (2 ติโมเธียว 3:4, 5; มัดธาย 24:21, 37-39, ล.ม.) พระเยซูทรงเตือนเหล่าสาวกว่า “จงระวังตัวให้ดี, เกลือกว่าใจของท่านจะล้นไปด้วยอาการดื่มเหล้าองุ่นมากและด้วยการเมา, และด้วยคิดกังวลถึงชีวิตนี้, แล้วเวลานั้นจะมาถึงท่านดุจบ่วงแร้วเมื่อท่านไม่ทันคิด.” (ลูกา 21:34, 35) ในฐานะผู้รับใช้พระเจ้า เราตั้งใจแน่วแน่จะเอาใจใส่คำเตือนของพระเยซู. ไม่เหมือนกับผู้คนในโลกรอบตัวเราที่ไม่นับถือพระเจ้า เราพยายามอย่างหนักที่จะรักษาความตื่นตัวฝ่ายวิญญาณและคำนึงถึงวันอันใหญ่ยิ่งของพระยะโฮวาอยู่เสมอ.—ซะฟันยา 3:8; ลูกา 21:36.
4. (ก) ทำไมนันทนาการที่เหมาะสมจึงหาได้ยาก? (ข) คำแนะนำอะไรที่พบในเอเฟโซ 5:15, 16 ซึ่งเราต้องการนำมาใช้?
1 เปโตร 2:11) ความบันเทิงที่เป็นอันตรายไม่ได้มีอยู่เฉพาะนอกบ้านเท่านั้น แต่ยังได้รุกเข้าไปถึงในบ้านโดยทางสิ่งพิมพ์, โทรทัศน์, อินเทอร์เน็ต, วีซีดี, และดีวีดีด้วย. ด้วยเหตุนั้น พระคำของพระเจ้าให้คำแนะนำที่ฉลาดสุขุมแก่คริสเตียนดังนี้: “ท่านทั้งหลายจงระวังให้ดีในการประพฤติ, อย่าให้เหมือนคนอปัญญา, แต่ให้เหมือนคนมีปัญญา จงซื้อโอกาสมาใช้, เพราะว่าบัดนี้เป็นกาลที่ชั่ว.” (เอเฟโซ 5:15, 16) เฉพาะแต่เมื่อทำตามคำแนะนำนี้อย่างเคร่งครัดเท่านั้นเราจึงจะแน่ใจได้ว่า ความบันเทิงที่ก่อผลเสียหายจะไม่ชักจูงเรา, ครอบงำเรา, หรือถึงกับทำลายสายสัมพันธ์ของเรากับพระยะโฮวา ซึ่งจะยังผลเป็นความพินาศสำหรับเรา.—ยาโกโบ 1:14, 15.
4 การรักษาตัวให้ห่างจากกิจปฏิบัติอันเสื่อมทรามของโลกไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากพญามารได้ทำให้สิ่งเหล่านั้นดูน่าปรารถนาและเข้าถึงได้ง่าย. นับว่ายากเป็นพิเศษเมื่อเราพยายามหาความบันเทิงหรือนันทนาการ. สิ่งที่โลกเสนอให้ส่วนใหญ่แล้วล้วนตั้งใจให้เป็นที่ดึงดูด “ความปรารถนาในเนื้อหนัง.” (5. เราได้ความสดชื่นอันยิ่งใหญ่ที่สุดจากอะไร?
5 เนื่องจากชีวิตของคริสเตียนเต็มไปด้วยธุระการงาน จึงเป็นที่เข้าใจได้ที่พวกเขารู้สึกว่าจำเป็นต้องมีกิจกรรมที่เป็นการพักผ่อนหย่อนใจบ้างในบางครั้ง. ที่จริง ท่านผู้ประกาศ 3:4 (ฉบับแปลใหม่) กล่าวว่า ‘มีวาระสำหรับหัวเราะและมีวาระสำหรับเต้นรำ.’ ดังนั้น คัมภีร์ไบเบิลไม่ได้ถือว่านันทนาการเป็นการใช้เวลาอย่างสูญเปล่า. แต่นันทนาการควรทำให้เรารู้สึกสดชื่น ไม่เป็นอันตรายต่อฐานะของเราจำเพาะพระเจ้าหรือรุกล้ำเบียดบังกิจกรรมในงานรับใช้. คริสเตียนที่อาวุโสทราบจากประสบการณ์ของตนว่าความสุขอันยิ่งใหญ่กว่ามาจากการให้. พวกเขาให้การทำตามพระทัยประสงค์ของพระยะโฮวามาเป็นอันดับแรกในชีวิตและได้ ‘ความสดชื่นที่แท้จริงสำหรับจิตวิญญาณของตน’ จากการรับเอาแอกอันพอเหมาะของพระเยซู.—มัดธาย 11:29, 30, ล.ม.; กิจการ 20:35.
การเลือกนันทนาการที่เหมาะสม
6, 7. อะไรอาจช่วยคุณได้ในการตัดสินใจว่าความบันเทิงแบบไหนเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม?
6 เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่านันทนาการแบบใดเหมาะสมสำหรับคริสเตียน? บิดามารดาควรชี้แนะลูก ๆ และผู้ปกครองจะช่วยเหลือตามที่จำเป็น. อย่างไรก็ตาม จริง ๆ แล้วไม่น่าจะจำเป็นที่คนอื่นต้องมาบอกเราว่าหนังสือเล่มใด, ภาพยนตร์เรื่องไหน, เกมอะไร, การเต้นรำแบบใด, หรือเพลงไหนที่ไม่เหมาะสม. เปาโลกล่าวว่า “ผู้อาวุโส คือผู้ซึ่งด้วยการใช้ ได้ฝึกฝนความสามารถในการสังเกตเข้าใจเพื่อแยกออกว่าอะไรถูกอะไรผิด.” (เฮ็บราย 5:14, ล.ม.; 1 โกรินโธ 14:20) คัมภีร์ไบเบิลมีหลักการซึ่งให้ข้อชี้แนะ. สติรู้สึกผิดชอบซึ่งได้รับการฝึกโดยพระคำของพระเจ้าจะช่วยคุณ หากคุณฟังสติรู้สึกผิดชอบของคุณ.—1 ติโมเธียว 1:19.
7 พระเยซูตรัสว่า “จะรู้จักต้นไม้ได้ด้วยผลของมัน.” (มัดธาย 12:33) หากนันทนาการแบบใดก่อผลเสื่อมเสียโดยชักนำเราไปสู่ความรุนแรง, การผิดศีลธรรม, หรือลัทธิ ภูตผีปิศาจ ก็ควรปฏิเสธนันทนาการนั้น. นอกจากนั้น ไม่อาจยอมรับได้ด้วยหากนันทนาการนั้นเป็นอันตรายต่อชีวิตหรือสุขภาพ, ทำให้เกิดความลำบากทางเศรษฐกิจหรือความท้อใจ, หรือทำให้คนอื่นสะดุด. อัครสาวกเปาโลเตือนเราว่าหากเราทำร้ายสติรู้สึกผิดชอบของพี่น้อง เรากำลังทำบาป. เปาโลเขียนดังนี้: “เมื่อท่านทำผิดอย่างนั้นต่อพวกพี่น้องโดยทำร้ายแก่ใจวินิจฉัยผิดและชอบอันอ่อนของเขา, ดังนั้นท่านจึงได้กระทำผิดต่อพระคริสต์ด้วย. เหตุฉะนั้น ถ้าอาหารเป็นเหตุให้พี่น้องของข้าพเจ้าหลงผิด, ข้าพเจ้าก็จะไม่กินเนื้อสัตว์ต่อไปเป็นนิตย์, เกรงว่าข้าพเจ้าจะทำให้พี่น้องหลงผิดไป.”—1 โกรินโธ 8:12, 13.
8. การเล่นเกมอิเล็กทรอนิกส์และดูภาพยนตร์วีซีดี/ดีวีดีอาจก่อความเสียหายเช่นไร?
8 ห้างร้านต่าง ๆ เต็มไปด้วยเกมอิเล็กทรอนิกส์และภาพยนตร์วีซีดี/ดีวีดี. บางเรื่องบางอย่างอาจให้ความสนุกและผ่อนคลายโดยไม่มีพิษมีภัย แต่ความบันเทิงเหล่านี้โดยทั่วไปมักเน้นกันมากขึ้นเรื่อย ๆ ในเรื่องที่คัมภีร์ไบเบิลตำหนิ. แน่นอน เกมที่กำหนดให้ผู้เล่นทำร้ายผู้อื่นให้บาดเจ็บและฆ่าหรือประพฤติในแบบที่ผิดศีลธรรมอย่างเห็นได้ชัดย่อมไม่ได้เป็นเพียงความสนุกสนานที่ปราศจากอันตราย! พระยะโฮวาทรงเกลียดชังคนที่ “ชอบความรุนแรง.” (บทเพลงสรรเสริญ 11:5, ล.ม.; สุภาษิต 3:31, ล.ม.; โกโลซาย 3:5, 6) และหากการเล่นเกมชนิดใดสนับสนุนให้คุณละโมบหรือก้าวร้าว, ทำให้จิตใจอ่อนล้า, หรือทำให้เวลาอันมีค่าสูญไปโดยเปล่าประโยชน์ ถ้าอย่างนั้นก็จงตระหนักถึงความเสียหายฝ่ายวิญญาณที่เกมนั้นทำให้เกิดขึ้นและจัดการแก้ไขโดยเร็ว.—มัดธาย 18:8, 9.
การสนองความจำเป็นที่จะมีนันทนาการในแบบที่ดีงาม
9, 10. คนที่มีความสังเกตเข้าใจอาจทำอะไรได้บ้างเพื่อสนองความจำเป็นที่จะมีนันทนาการ?
9 เป็นครั้งคราว คริสเตียนบางคนตั้งคำถามว่า “นันทนาการแบบไหนล่ะที่นับว่าเหมาะสม? สิ่งที่โลกเสนอให้ส่วนมากมีแต่แบบที่สวนทางกับมาตรฐานของคัมภีร์ไบเบิล.” ขอให้มั่นใจว่านันทนาการที่น่าพอใจนั้นสามารถหาได้ เพียงแต่ต้องพยายามกันบ้าง. จำเป็นต้องคิดล่วงหน้าและวางแผน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของพ่อแม่. หลายคนพบการพักผ่อนหย่อนใจที่คุ้มค่าในแวดวงครอบครัวและประชาคม. การรับประทานอาหารด้วยกันอย่างไม่เร่งรีบขณะที่คุยกันถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนั้นหรือเรื่องหนึ่งจากคัมภีร์ไบเบิลเป็นสิ่งที่น่าพอใจและเสริมสร้าง. อาจไปปิกนิก, เล่นเกมที่เหมาะสม, ไปพักแรม, หรือไปเที่ยวชมธรรมชาติด้วยกัน. นันทนาการที่ดีงามเช่นนั้นให้ความเพลิดเพลินและความสดชื่นได้ไม่น้อยทีเดียว.
10 ผู้ปกครองคนหนึ่งกับภรรยาซึ่งเลี้ยงลูกสามคนเล่าว่า “ตั้งแต่ลูกอายุยังน้อย ๆ พวกเขาได้มีส่วนร่วมในการเลือกว่าเราจะไปเที่ยวพักผ่อนกันที่ไหน. บางครั้ง เราให้ลูกแต่ละคนชวนเพื่อนที่ดีไปด้วยคนหนึ่ง ซึ่งก็ทำให้การไปเที่ยวครั้งนั้นสนุกยิ่งขึ้น. เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่สำคัญ ๆ ในชีวิตของลูก เราให้ความสำคัญกับเหตุการณ์นั้น. เป็นระยะ ๆ เราเชิญครอบครัวหนึ่งและเพื่อน ๆ ในประชาคมมาที่บ้าน. เราก็จะทำอาหารกันนอกบ้านและเล่นเกมกัน. บางครั้ง เราขับรถไปถึงภูเขาแล้วก็เดินชมนกชมไม้ ใช้โอกาสอย่างนั้นเรียนรู้จักสิ่งทรงสร้างของพระยะโฮวา.”
11, 12. (ก) คุณอาจทำอะไรได้บ้างเพื่อรวมคนอื่น ๆ ไว้ด้วยในแผนสำหรับนันทนาการเป็นครั้งคราวของคุณ? (ข) การสังสรรค์แบบใดที่ทำให้หลายคนประทับใจไม่รู้ลืม?
ลูกา 14:12-14) คุณอาจให้คนใหม่ ๆ ที่เพิ่งเข้ามาสมทบกับประชาคมรวมอยู่ในแผนของคุณด้วย แต่แน่ล่ะ ก็ต้องระวังว่าการเชิญคนนั้นจะไม่กลายเป็นอิทธิพลที่ก่อผลเสียหายแก่คนอื่น ๆ. (2 ติโมเธียว 2:20, 21) หากว่าเป็นเรื่องยากที่ผู้ทุพพลภาพจะออกไปข้างนอก อาจนัดแนะให้นำอาหารไปรับประทานด้วยกันที่บ้านของเขา.—เฮ็บราย 13:1, 2.
11 คุณเองเป็นส่วนตัวหรือในฐานะครอบครัวจะตีแผ่ใจได้ไหมโดยรวมเอาคนอื่น ๆ ไว้ในแผนสำหรับนันทนาการเป็นครั้งคราวของคุณ? บางคนเช่น แม่ม่าย, คนโสด, หรือครอบครัวที่มีบิดาหรือมารดาฝ่ายเดียว อาจจำเป็นต้องได้รับการหนุนใจ. (12 การสังสรรค์ซึ่งแขกได้รับประทานอาหารง่าย ๆ ด้วยกัน, ฟังประสบการณ์ว่าคนอื่น ๆ เข้ามาเป็นคริสเตียนได้อย่างไร, และเรียนรู้ว่าอะไรช่วยให้พวกเขารักษาตัวซื่อสัตย์ต่อพระเจ้าเป็นสิ่งที่ทำให้หลายคนประทับใจไม่รู้ลืม. อาจยกเรื่องหนึ่งจากคัมภีร์ไบเบิลขึ้นมาคุยกัน โดยเชิญทุกคนที่อยู่ที่นั่นรวมทั้งเด็ก ๆ ให้มีส่วนร่วม. การพูดคุยกันอย่างนี้อาจเป็นการหนุนใจซึ่งกันและกันได้เป็นอย่างดี โดยไม่ทำให้ใครรู้สึกอึดอัดหรือรู้สึกว่าตัวเองด้อย.
13. พระเยซูและเปาโลวางแบบอย่างไว้อย่างไรในการแสดงและการตอบรับน้ำใจรับรองแขก?
13 พระเยซูทรงวางตัวอย่างที่เหมาะสมไว้ในการแสดงน้ำใจรับรองแขกและการตอบรับน้ำใจดังกล่าว. พระองค์ทรงใช้โอกาสเช่นนั้นเสมอเพื่อให้การหนุนใจฝ่ายวิญญาณ. (ลูกา 5:27-39; 10:42; 19:1-10; 24:28-32) เหล่าสาวกรุ่นแรกเลียนแบบอย่างของพระองค์. (กิจการ 2:46, 47) อัครสาวกเปาโลเขียนว่า “ข้าพเจ้าปรารถนาจะเห็นหน้าท่านทั้งหลาย, หมายจะให้ของประทานฝ่ายวิญญาณจิตต์แก่ท่านบ้าง, เพื่อท่านทั้งหลายจะได้ดำรงมั่นคงอยู่, คือเพื่อข้าพเจ้ากับท่านทั้งหลายจะได้หนุนใจซึ่งกันและกันโดยความเชื่อของเราทั้งสองฝ่าย.” (โรม 1:11, 12) คล้ายกันนั้น การสังสรรค์ของเราควรก่อให้เกิดบรรยากาศที่จะมีการหนุนใจกันและกัน.—โรม 12:13; 15:1, 2.
ข้อเตือนใจและข้อควรระวังบางประการ
14. ทำไมจึงดีกว่าที่จะไม่จัดงานสังสรรค์ขนาดใหญ่?
14 ดีกว่าที่จะไม่จัดงานสังสรรค์ขนาดใหญ่ เนื่องจากการควบคุมดูแลมักทำได้ยาก. ในเวลาที่ไม่ขัดกับกิจกรรมฝ่ายวิญญาณ สองสามครอบครัวอาจเลือกที่จะไปปิกนิกด้วยกัน หรือเล่นเกมที่ไม่เน้นมากนักในเรื่องการเอาชนะกัน. เมื่อมีผู้ปกครองบางคนหรือผู้ช่วยงานรับใช้หรือผู้อาวุโสคนอื่น ๆ ร่วมอยู่ด้วยในการสังสรรค์ พวกเขาก็จะก่อให้เกิดแรงชักจูงในทางดีและสามารถทำให้ผู้เข้าร่วมการสังสรรค์สดชื่นยิ่งขึ้นไปอีก.
15. ทำไมการเป็นเจ้าภาพจัดงานควรหมายรวมถึงการควบคุมดูแลอย่างเหมาะสมด้วย?
15 ในงานสังสรรค์ เจ้าภาพไม่ควรมองข้ามความจำเป็นที่จะต้องมีการควบคุมดูแลอย่างเหมาะสม. แม้ว่าคุณอาจต้องการแสดงน้ำใจรับรองแขก แต่คุณจะไม่เสียใจหรือหากมารู้ในภายหลังว่าเนื่องจากคุณละเลยในเรื่องนี้ มีแขกบางคนสะดุดเพราะสิ่งที่เกิดขึ้นในบ้านคุณ? ขอให้พิจารณาหลักการที่พระบัญญัติ 22:8 (ฉบับแปลใหม่). มีข้อเรียกร้องให้ชาวอิสราเอลที่สร้างบ้านใหม่ต้องทำขอบกั้นโดยรอบบนดาดฟ้าซึ่งมักใช้เป็นที่รับรองแขก. เพราะเหตุใด? “เพื่อท่านจะมิได้นำโทษมาสู่เรือนนั้นเพราะมีคนพลัดตกลงมาจากหลังคาตาย.” ในทำนองเดียวกัน คุณควรใส่ใจที่จะปกป้องสวัสดิภาพทางกายและฝ่ายวิญญาณของแขกที่ร่วมในการสังสรรค์ แต่ก็ต้องไม่วางข้อจำกัดอย่างขาดเหตุผล.
16. ควรจัดการอย่างรอบคอบเช่นไรหากมีการเสิร์ฟเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในงานสังสรรค์?
เอเฟโซ 5:18, 19) ด้วยเหตุผลที่ต่างกันไป แขกบางคนอาจตัดสินใจว่าจะงดเว้นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์. ในหลายแห่ง มีกฎหมายกำหนดอายุขั้นต่ำของผู้ดื่ม เมื่อเป็นอย่างนั้นคริสเตียนจะเชื่อฟังกฎหมายบ้านเมือง แม้แต่ในกรณีที่กฎข้อบังคับดังกล่าวอาจดูเหมือนเข้มงวดเกินไป.—โรม 13:5.
16 หากจะมีการเสิร์ฟเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในงานสังสรรค์ ควรทำด้วยความรอบคอบอย่างยิ่ง. เจ้าภาพคริสเตียนหลายคนตัดสินใจว่าจะเสิร์ฟเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เฉพาะเมื่อเขาสามารถดูแลได้ด้วยตัวเองว่ามีการเสิร์ฟอะไรและปริมาณเท่าใดให้แขกแต่ละคน. ไม่ควรอนุญาตให้มีสิ่งใดที่อาจทำให้คนอื่นสะดุดหรือล่อใจบางคนให้ดื่มมากเกินไป. (17. (ก) หากมีการเปิดหรือเล่นดนตรีในงานสังสรรค์ ทำไมจึงสำคัญที่เจ้าภาพต้องเลือกอย่างรอบคอบ? (ข) หากมีการเต้นรำในงานสังสรรค์ ควรสะท้อนถึงความสุภาพอย่างไร?
17 เจ้าภาพควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าดนตรี, การเต้นรำ, หรือความบันเทิงอื่น ๆ สอดคล้องกับหลักการคริสเตียน. แต่ละคนมีรสนิยมด้านดนตรีแตกต่างกัน และมีดนตรีมากมายหลายแนว. อย่างไรก็ตาม ดนตรีจำนวนมากในปัจจุบันสนับสนุนน้ำใจขืนอำนาจ, การผิดศีลธรรม, และความรุนแรง. จำเป็นต้องเลือกอย่างรอบคอบ. ดนตรีที่เหมาะสมไม่จำเป็นจะต้องเป็นดนตรีนุ่ม ๆ เรียบ ๆ แต่ก็ไม่ควรเป็นแบบเร้าราคะหรือหยาบคาย เน้นหนักที่เสียงดังหนวกหูและจังหวะกระแทกกระทั้น. ควรระวังไม่ปล่อยให้คนที่ยังไม่เข้าใจความจำเป็นที่จะจำกัดความดังให้พอเหมาะเป็นคนเลือกดนตรี. การเต้นรำที่มีท่าเต้นไม่สุภาพ เน้นการเคลื่อนไหวของสะโพกและทรวงอกแบบเร้าราคะ เห็นได้ชัดว่าไม่เหมาะสมสำหรับคริสเตียน.—1 ติโมเธียว 2:8-10.
18. บิดามารดาจะปกป้องลูก ๆ ได้อย่างไรด้วยการควบคุมดูแลการร่วมงานสังสรรค์ของพวกเขา?
18 บิดามารดาคริสเตียนควรหาข้อมูลว่ามีการวางแผนไว้อย่างไรสำหรับการสังสรรค์ใด ๆ ที่ลูกได้รับเชิญให้เข้าร่วม และนับว่าฉลาดสุขุมที่เขาจะไปด้วยกันกับลูกในกรณีส่วนใหญ่. น่าเศร้า บิดามารดาบางคนได้อนุญาตให้ลูกเข้าร่วมงานเลี้ยงที่ไม่มีการควบคุมดูแลซึ่งหลายคนที่ร่วมงานนั้นได้ถูกล่อใจให้ทำผิดศีลธรรมหรือประพฤติตัวไม่เหมาะสมอย่างอื่น. (เอเฟโซ 6:1-4) แม้แต่เยาวชนที่อายุเกือบ ๆ ยี่สิบปีแล้วและแสดงให้เห็นว่าเขามีความประพฤติที่น่าไว้วางใจ ก็ยังจำเป็นที่จะช่วยเขาให้ “หนีเสียจากความปรารถนาซึ่งมักมีในวัยหนุ่มสาว.”—2 ติโมเธียว 2:22, ล.ม.
19. ความเป็นจริงอะไรอาจช่วยเราได้ให้เพ่งความสนใจในสิ่งที่เราควร ‘แสวงหาก่อน’?
19 นันทนาการและความบันเทิงเป็นครั้งคราวแบบที่ดีงามและทำให้สดชื่นสามารถทำให้ชีวิตน่ายินดีมากขึ้น. พระยะโฮวาไม่ได้ห้ามเราที่จะเพลิดเพลินกับกิจกรรมดังกล่าว แต่ตามจริงแล้วเราทราบว่ากิจกรรมเหล่านี้ในตัวมันเองไม่ช่วยให้เราส่ำสมทรัพย์ฝ่ายวิญญาณในสวรรค์. (มัดธาย 6:19-21) พระเยซูทรงช่วยเหล่าสาวกให้เข้าใจว่าการ “แสวงหาราชอาณาจักรและความชอบธรรมของ [พระเจ้า] ก่อน” เป็นเรื่องสำคัญในชีวิต ไม่ใช่สิ่งที่เราจะกินจะดื่มหรือนุ่งห่ม หรือ “สิ่งที่นานาชาติกำลังติดตามอย่างกระตือรือร้น.”—มัดธาย 6:31-34, ล.ม.
20. ผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์ของพระยะโฮวาสามารถคาดหมายสิ่งดีอะไรจากพระผู้จัดเตรียมองค์ยิ่งใหญ่?
20 ใช่แล้ว ไม่ว่าเรา “จะกินจะดื่มก็ดี, หรือจะทำประการใดก็ดี” เราสามารถทำ “ทุกสิ่งให้เป็นที่ถวายเกียรติยศแก่พระเจ้า” โดยขอบพระคุณพระผู้จัดเตรียมองค์ยิ่งใหญ่สำหรับสิ่งดีที่เราชื่นชมอย่างพอเหมาะ. (1 โกรินโธ 10:31) ในแผ่นดินโลกที่เป็นอุทยานซึ่งรออยู่เบื้องหน้า จะมีโอกาสไม่รู้สิ้นสุดที่จะเพลิดเพลินกับความเอื้อเฟื้อของพระยะโฮวาอย่างเต็มที่ พร้อมกับมิตรภาพที่ดีงามจากบรรดาชนที่บรรลุข้อเรียกร้องอันชอบธรรมของพระองค์.—บทเพลงสรรเสริญ 145:16; ยะซายา 25:6; 2 โกรินโธ 7:1.
คุณจำได้ไหม?
• ทำไมคริสเตียนจึงหานันทนาการที่ดีงามได้ยากในปัจจุบัน?
• มีนันทนาการแบบใดบ้างที่นับว่าน่าพอใจสำหรับครอบครัวคริสเตียน?
• เมื่อเพลิดเพลินกับนันทนาการที่ดีงาม ควรจำข้อเตือนใจและข้อควรระวังอะไรไว้เสมอ?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 18]
จงเลือกนันทนาการที่ก่อผลดี
[ภาพหน้า 19]
นันทนาการแบบใดบ้างที่คริสเตียนปฏิเสธ?