อย่าทอดทิ้งเพื่อนร่วมความเชื่อ
อย่าทอดทิ้งเพื่อนร่วมความเชื่อ
“เราถูกสิ่งที่ยั่วยวนใจของโลกธุรกิจสะกดให้หลงใหลและชื่นชมกับความมั่งคั่งร่ำรวยเป็นเวลาสิบปี. แม้ว่าเราเติบโตขึ้นมาในความจริง แต่เราหลงเจิ่นไปไกลมากจนไม่มีกำลังจะกลับมาหาพระยะโฮวา” จาโรสวาฟและเบอาทาภรรยาของเขากล่าว. *
พี่น้องอีกคนหนึ่ง ชื่อมาเรก เล่าว่า “เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างด้านสังคมและการเมืองในโปแลนด์ ผมจึงตกงานครั้งแล้วครั้งเล่า. ผมรู้สึกหงุดหงิด. ก่อนหน้านั้นผมไม่กล้าตั้งบริษัทของตัวเองเพราะผมไม่มีความสามารถด้านธุรกิจ. แต่ในที่สุดผมก็ถูกล่อใจให้ตั้งบริษัท โดยคิดว่านั่นจะช่วยให้ผมดูแลความจำเป็นด้านวัตถุของครอบครัวได้ดีขึ้นและจะไม่ก่อผลเสียหายต่อสภาพฝ่ายวิญญาณของผม. ในภายหลัง ผมถึงได้รู้ว่าผมคิดผิดถนัด.”
ในโลกที่ค่าครองชีพกำลังพุ่งสูงขึ้นอย่างไม่หยุดยั้งและการว่างงานก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ บางคนรู้สึกหมดหวังและส่งผลให้เขาตัดสินใจอย่างไม่ฉลาดสุขุม. พี่น้องหลายคนตัดสินใจทำงานล่วงเวลา, ทำงานพิเศษเพิ่ม, หรือเริ่มทำธุรกิจของตัวเองทั้ง ๆ ที่ขาดประสบการณ์. พวกเขาคิดว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้นจะช่วยครอบครัวและไม่ก่อผลเสียหายฝ่ายวิญญาณแต่อย่างใด. แต่สภาพการณ์ที่ไม่อาจรู้ล่วงหน้าผู้ป. 9:11, 12
และเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนอาจทำให้แม้แต่แผนการที่เกิดจากแรงกระตุ้นที่ดีชะงักงันได้. ผลก็คือ บางคนติดกับดักของความโลภและยอมเสียผลประโยชน์ฝ่ายวิญญาณเพื่อแลกกับผลประโยชน์ด้านวัตถุ.—พี่น้องบางคนหมกมุ่นกับงานอาชีพจนไม่มีเวลาสำหรับการศึกษาส่วนตัว, การประชุม, หรืองานรับใช้อีกต่อไป. เห็นได้ชัดว่าการละเลยเช่นนั้นทำให้สภาพฝ่ายวิญญาณและสายสัมพันธ์ของพวกเขากับพระยะโฮวาเสียหาย. พวกเขาอาจละทิ้งสายสัมพันธ์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง นั่นคือสายสัมพันธ์กับคนที่ ‘มีความเชื่อเช่นเดียวกับเขา.’ (กลา. 6:10) บางคนค่อย ๆ ถอยห่างจากสังคมพี่น้องคริสเตียน. ขอให้พิจารณาแง่มุมนี้อย่างจริงจัง.
พันธะหน้าที่ของเราต่อเพื่อนร่วมความเชื่อ
ในฐานะพี่น้องชายหญิง เรามีหลายโอกาสที่จะแสดงความรู้สึกอันอ่อนละมุนต่อกัน. (โรม 13:8) ในประชาคม คุณคงเคยเห็น “คนเดือดร้อน ที่ร้องขอความช่วยเหลือ.” (โยบ 29:12, ล.ม.) บางคนขาดสิ่งจำเป็นพื้นฐานด้านวัตถุ. อัครสาวกโยฮันเตือนให้เราคิดถึงว่าสภาพการณ์ดังกล่าวเปิดโอกาสให้เราทำอะไร. “ถ้าผู้ใดมีสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตและเห็นพี่น้องขัดสนแต่ยังใจดำไม่ยอมแสดงความเอื้อเฟื้อต่อเขา จะบอกได้อย่างไรว่าเขารักพระเจ้า?”—1 โย. 3:17
คุณอาจตอบสนองความจำเป็นเช่นนั้นและให้ความช่วยเหลือด้วยความเอื้อเฟื้อแก่คนอื่น ๆ. ถึงกระนั้น ความสนใจที่เรามีต่อพี่น้องไม่ควรจำกัดอยู่แค่การช่วยเหลือด้านวัตถุ. บางคนอาจร้องขอความช่วยเหลือเนื่องจากพวกเขาเหงาหรือท้อใจ. พวกเขาอาจรู้สึกว่าตัวเองไม่คู่ควรที่จะรับใช้พระยะโฮวา, รู้สึกเป็นทุกข์เพราะความเจ็บป่วยอย่างหนัก, หรือคนที่เขารักเสียชีวิต. วิธีหนึ่งที่เราจะหนุนใจพวกเขาได้ก็คือฟังและพูดกับพวกเขา ซึ่งโดยวิธีนี้เราสามารถช่วยพวกเขาทางอารมณ์และฝ่ายวิญญาณ. (1 เทส. 5:14) การทำอย่างนี้มักเสริมสายสัมพันธ์แห่งความรักที่เรามีต่อพี่น้องให้เหนียวแน่นยิ่งขึ้น.
ผู้บำรุงเลี้ยงฝ่ายวิญญาณอยู่ในฐานะที่ดีเป็นพิเศษที่จะฟังด้วยความเห็นอกเห็นใจ, แสดงความเข้าใจ, และให้คำแนะนำตามหลักพระคัมภีร์ด้วยความรัก. (กิจ. 20:28) โดยวิธีนี้ ผู้ดูแลก็เลียนแบบอัครสาวกเปาโล ซึ่งมี ‘ความรักอย่างยิ่ง’ ต่อพี่น้องฝ่ายวิญญาณ.—1 เทส. 2:7, 8
อย่างไรก็ตาม ถ้าคริสเตียนหลงไปจากฝูง เขาจะทำตามพันธะหน้าที่ของตนต่อเพื่อนร่วมความเชื่อได้อย่างไร? แม้แต่ผู้ดูแลก็ถูกล่อใจให้มุ่งแสวงหาด้านวัตถุได้เหมือนกัน. จะเป็นอย่างไรถ้าคริสเตียนพ่ายแพ้การล่อใจเช่นนั้น?
ความวิตกกังวลกับชีวิตดึงเราให้ตกต่ำ
ดังที่กล่าวไปแล้ว บ่อยครั้งการตรากตรำทำงานหนักเพื่อสนองความจำเป็นพื้นฐานด้านร่างกายของครอบครัวมัด. 13:22) มาเรก ซึ่งกล่าวถึงในตอนต้นเล่าว่า “เมื่อธุรกิจของผมล้ม ผมก็ตัดสินใจไปทำงานต่างประเทศซึ่งมีรายได้ดี. ผมไปแค่สามเดือน แล้วก็ต่อไปอีกสามเดือน และต่อไปเรื่อย ๆ โดยที่กลับมาบ้านบ้างช่วงสั้น ๆ. ภรรยาผมซึ่งไม่มีความเชื่อได้รับผลเสียหายด้านอารมณ์จากการที่ผมทำอย่างนี้.”
ทำให้วิตกกังวล และอาจทำให้เราเห็นความสำคัญของสิ่งฝ่ายวิญญาณน้อยลง. (ชีวิตครอบครัวไม่ใช่สิ่งเดียวที่ได้รับผลเสียหาย. มาเรกเล่าต่อว่า “นอกจากที่ผมต้องทำงานนานหลายชั่วโมงในสภาพอากาศที่ร้อนจัด ผมยังต้องเจอกับผู้คนที่หยาบคายซึ่งพยายามฉวยประโยชน์จากผู้อื่น. พวกเขาทำตัวเหมือนพวกอันธพาล. ผมถูกข่มและรู้สึกหดหู่. เนื่องจากไม่มีแม้แต่เวลาที่จะดูแลตัวเอง ผมเริ่มสงสัยว่าตัวเองจะดูแลผู้อื่นได้อย่างไร.”
ผลอันน่าเศร้าจากการตัดสินใจของมาเรกน่าจะกระตุ้นเราให้ได้คิด. แม้ดูเหมือนว่าการย้ายไปต่างประเทศจะช่วยแก้ปัญหาการเงินได้ แต่นั่นจะไม่ทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาหรือ? ตัวอย่างเช่น สวัสดิภาพฝ่ายวิญญาณและอารมณ์ของครอบครัวเราจะเป็นอย่างไร? การย้ายเช่นนั้นจะทำให้สายสัมพันธ์ของเรากับประชาคมขาดสะบั้นไหม? การย้ายนั้นจะทำให้เราสูญเสียสิทธิพิเศษในการรับใช้เพื่อนร่วมความเชื่อไหม?—1 ติโม. 3:2-5
อย่างไรก็ตาม ดังที่คุณคงตระหนักอยู่แล้วว่าไม่ใช่เฉพาะคนที่ไปทำงานต่างประเทศเท่านั้นที่อาจหมกมุ่นมากเกินไปกับงานอาชีพ. ขอให้พิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นกับจาโรสวาฟและเบอาทา. เขากล่าวว่า “ทุกอย่างเริ่มต้นโดยที่เราไม่คิดเลยว่าจะเกิดปัญหาขึ้นทีหลัง. ในฐานะคู่ที่เพิ่งแต่งงาน เราเปิดแผงลอยขายฮอตดอกในทำเลที่ดี. พอเห็นว่าได้กำไรดีก็เลยได้ใจ และขยายธุรกิจให้ใหญ่ขึ้น. แต่เรามีเวลาน้อยลง เราจึงขาดการประชุมคริสเตียน. ไม่นาน ผมก็เลิกเป็นไพโอเนียร์และไม่ได้รับใช้เป็นผู้ช่วยงานรับใช้อีกต่อไป. ด้วยความตื่นเต้นกับผลกำไรที่เราได้รับ เราจึงเปิดร้านใหญ่และเข้าหุ้นกับคนหนึ่งที่ไม่มีความเชื่อ. ไม่ช้าผมก็เดินทางไปต่างประเทศเพื่อเซ็นสัญญาที่มีมูลค่าหลายล้านดอลลาร์. ผมแทบไม่ได้อยู่บ้าน และสายสัมพันธ์ในครอบครัวกับภรรยาและลูกสาวก็แย่ลง. ในที่สุด ธุรกิจที่เบ่งบานก็กล่อมเราให้หลับใหลฝ่ายวิญญาณ. เพราะไม่ได้ติดต่อกับประชาคม เราจึงไม่ได้คิดถึงพี่น้องเลย.”
เราเรียนอะไรได้จากเรื่องนี้? ความปรารถนาที่จะสร้าง “อุทยาน” ส่วนตัวอาจทำให้คริสเตียนติดกับโดยพึงพอใจกับตัวเอง แม้จะสูญเสีย “เสื้อคลุม” ซึ่งหมายถึงเอกลักษณ์ของคริสเตียน. (วิ. 16:15) นั่นอาจทำให้เราถูกตัดขาดจากพี่น้องซึ่งเราเคยอยู่ในฐานะที่จะช่วยพวกเขาได้.
จงประเมินค่าอย่างตรงไปตรงมา
เราอาจคิดว่า ‘นั่นคงไม่เกิดขึ้นกับฉันหรอก.’ แต่เราทุกคนควรคิดอย่างจริงจังว่าสิ่งที่เราจำเป็นต้องมีจริง ๆ ในชีวิตนั้นมีมากแค่ไหน. เปาโลเขียนว่า “เราไม่ได้เอาอะไรเข้ามาในโลก และเราก็ไม่อาจเอาอะไรออกไปจากโลกได้เช่นกัน. ดังนั้น เมื่อเรามีเครื่องอุปโภคบริโภคและที่อยู่อาศัย เราควรอิ่มใจกับสิ่งเหล่านี้.” (1 ติโม. 6:7, 8) จริงอยู่ มาตรฐานการดำรงชีพในแต่ละประเทศต่างกัน. สิ่งที่ผู้คนในประเทศที่พัฒนาแล้วถือกันว่าเป็นสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานอาจเป็นของฟุ่มเฟือยสำหรับหลายประเทศ.
ไม่ว่ามาตรฐานการดำรงชีพในประเทศของเราเป็นเช่นไร ขอให้พิจารณาคำกล่าวถัดไปของเปาโลที่ว่า “คนที่มุ่งจะร่ำรวยก็ตกเข้าสู่การล่อใจ กับดัก และความปรารถนาหลายอย่างที่โง่เขลาและก่อความเสียหายซึ่งทำให้คนเราตกเข้าสู่ความพินาศและความหายนะ.” (1 ติโม. 6:9) กับดักถูกซ่อนไว้ไม่ให้เหยื่อเห็น. กับดักออกแบบไว้เพื่อจับเหยื่อโดยที่เหยื่อไม่ทันรู้ตัว. เราจะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้ติดกับดักของ ‘ความปรารถนาที่ก่อความเสียหาย’?
การกำหนดว่าอะไรสำคัญกว่าอาจกระตุ้นเราให้หาเวลารับใช้พระยะโฮวามากขึ้นรวมทั้งหาเวลาที่จะศึกษาส่วนตัว. การศึกษาพร้อมกับการอธิษฐานสามารถช่วยคริสเตียนให้ “มีคุณสมบัติครบถ้วน ถูกเตรียมไว้พร้อม” ที่จะช่วยคนอื่น ๆ.—2 ติโม. 2:15; 3:17
ผู้ปกครองที่เปี่ยมด้วยความรักได้ใช้เวลาสองสามปีเพื่อหนุนใจจาโรสวาฟให้ฟื้นตัว. เขาถูกกระตุ้นให้เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่. เขากล่าวว่า “ในการสนทนากันครั้งหนึ่งซึ่งสำคัญอย่างยิ่ง ผู้ปกครองอ้างถึงตัวอย่างในพระคัมภีร์ที่เกี่ยวกับชายหนุ่มผู้มั่งคั่งคนหนึ่งซึ่งต้องการมีชีวิตตลอดไปแต่ไม่ยอมสละทรัพย์สมบัติวัตถุของตน. แล้วพวกเขาชี้ให้เห็นอย่างผ่อนหนักผ่อนเบาว่าเรื่องนี้อาจใช้กับผมได้ไหม. นั่นทำให้ผมตาสว่าง!”—จาโรสวาฟประเมินสถานการณ์ของเขาอย่างตรงไปตรงมาและตัดสินใจว่าจะเลิกทำธุรกิจใหญ่. ภายในสองปี เขากับครอบครัวกลับมามีสุขภาพที่ดีฝ่ายวิญญาณ. เดี๋ยวนี้เขารับใช้พี่น้องในฐานะผู้ปกครอง. จาโรสวาฟบอกว่า “เมื่อพี่น้องเริ่มหมกมุ่นมากเกินไปกับธุรกิจจนละเลยสภาพฝ่ายวิญญาณ ผมก็จะใช้ตัวอย่างของตัวเองเพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นเรื่องไม่ฉลาดสักเพียงไรที่จะเข้าเทียมแอกอย่างที่ไม่เสมอกันกับผู้ไม่มีความเชื่อ. ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะต้านทานข้อเสนอที่ล่อใจและรักษาตัวอยู่ห่างจากกิจปฏิบัติที่ไม่ซื่อสัตย์.”—2 โค. 6:14
มาเรกก็เช่นกันได้รับบทเรียนที่หนักหนาสาหัส. แม้ว่าการทำงานในต่างประเทศที่รายได้ดีจะช่วยการเงินของครอบครัวให้ดีขึ้น แต่สายสัมพันธ์ของเขากับพระเจ้าและกับพี่น้องได้รับผลเสียหาย. ในเวลาต่อมา เขาจัดลำดับความสำคัญของสิ่งต่าง ๆ ใหม่. “ในช่วงหลายปี สถานการณ์ของผมคล้ายกันเลยกับสถานการณ์ของบารุคที่ ‘แสวงหาซึ่งของใหญ่สำหรับตัว.’ ในที่สุด ผมก็ระบายความในใจกับพระยะโฮวาเกี่ยวกับความวิตกกังวลของผม และตอนนี้ผมรู้สึกว่าผมกลับมามีความสมดุลฝ่ายวิญญาณอีกครั้งหนึ่ง.” (ยิระ. 45:1-5) ปัจจุบัน มาเรกพยายามเพื่อจะได้ “การงานที่ดี” ในฐานะผู้ดูแลในประชาคม.—1 ติโม. 3:1
มาเรกเตือนคนที่คิดจะเดินทางไปต่างประเทศเพื่อหางานที่มีรายได้งามว่า “เมื่ออยู่ต่างประเทศ เป็นเรื่องง่ายมากที่เราอาจติดกับดักของโลกชั่วนี้. การที่เราไม่ค่อยรู้ภาษาท้องถิ่นจะทำให้เราสื่อความกับคนอื่นได้ยาก. คุณอาจกลับบ้านพร้อมเงินก้อนโต แต่คุณจะมีบาดแผลฝ่ายวิญญาณกลับมาด้วยซึ่งอาจต้องใช้เวลานานกว่าจะรักษาหาย.”
การรักษาความสมดุลระหว่างงานอาชีพกับพันธะของเราต่อพี่น้องจะทำให้พระยะโฮวาพอพระทัย. และเราอาจเป็นตัวอย่างที่ดีซึ่งช่วยคนอื่น ๆ ให้ตัดสินใจอย่างฉลาดสุขุม. คนที่ท้อแท้จำเป็นต้องได้รับการเกื้อหนุน, ความเห็นอกเห็นใจ, และเห็นตัวอย่างที่ดีของพี่น้อง. ผู้ปกครองประชาคมและผู้ใหญ่ฝ่ายวิญญาณคนอื่น ๆ จะช่วยเพื่อนร่วมความเชื่อให้รักษาสมดุลและไม่ถูกความวิตกกังวลของชีวิตครอบงำ.—ฮีบรู 13:7
ใช่แล้ว ขอเราอย่าทอดทิ้งเพื่อนร่วมความเชื่อโดยการหมกมุ่นกับงานอาชีพมากเกินไป. (ฟิลิป. 1:10) แทนที่จะเป็นเช่นนั้น ขอให้เรา “มั่งมีในสายพระเนตรของพระเจ้า” ขณะที่เราให้ผลประโยชน์ของราชอาณาจักรมาเป็นอันดับแรกในชีวิต.—ลูกา 12:21
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 2 บางชื่อเป็นชื่อสมมุติ.
[ภาพหน้า 21]
งานอาชีพทำให้คุณขาดการประชุมไหม?
[ภาพหน้า 23]
คุณเห็นความสำคัญของโอกาสที่จะช่วยพี่น้องฝ่ายวิญญาณไหม?